ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิติวัชร ถ้วยงาม en_US
dc.contributor.advisor เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ en_US
dc.contributor.author มานพ พันธ์พานิชย์
dc.date.accessioned 2021-11-15T03:47:15Z
dc.date.available 2021-11-15T03:47:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7922
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และเพื่อหาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ใช้กลุ่มตัวอย่าง 288 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช่ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในระยะที่ 2 เป็นการหาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการ จำนวน 7 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในส่วนของความคิดเห็นของครูฝ่ายวิชาการต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมาคือด้านการประสานความร่วมมิในการพัฒนาวิชาการกับโรงเรียนอื่น ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนควรจัดหาปัจจัยหรือเงินทุน ที่จะนำมาใช้ซื้ออุปกรณ์สื่อเพื่อให้มีความพร้อมต่อการใช้งานและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนนอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดด้านสภาพแวดล้อมของนักเรียนที่ค่อนข้างยากจน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึง สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย และโรงเรียนตั้งอยู่ในสถานที่ห่างไกลจากตัวเมืองใหญ่ จึงเป็นอุปสรรคต่อการใช้สื่อ ในส่วนของความคิดเห็นของครูฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า อุปสรรคด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนนั้นเกิดจากนักเรียนมีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อในระดับชั้นต่อไปได้ en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were 1) to examine state of academic administration in primary schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2; and 2) to investigate guidelines of academic administration in primary schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 according to opinions of schools administrators and academic teachers. The research was divided into two phases. Phase 1 was to examine state of academic administration in primary schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 with the samples of 288 people selected by stratified random sampling by using a questionnaire to collect the data. The collected data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation.For phase 2, guidelinesof academic administrationwere investigated by interviewing 7 school administrators and academic teachers selected by purposive sampling. The collected data were analyzed by using content analysis. The results suggested that: 1. State of academic administration in primary schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 according to the school administrators was at a high level in overall aspect. The aspect with the highest average was academic promotion and support to individuals, families, organizations, departments and other educational institutes followed by academic supervision while development of innovation and technology for education received the lowest average. In addition, according to academic teachers’ opinions, the state of academic administration in primary schools was also at a high level in overall aspect. The highest average was academic supervision, followed by academic development coordination with other schools. The aspect with the lowest mean score was assessment of learning achievement and credits transfer. 2. Guidelines of academic administration in primary schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 according to opinions of schools administrators were that schools should provide budget for developing innovation and technology for educationto be adequate with the number of students. Moreover, there was a limitation in terms of poverty and the suburban location of schools which obstructed the access to the use of educational innovation and technology.For the opinions of the academic teachers, assessment of learning achievement and credits transfer were problematic as the students’ grade point average was lower than the criteria, so the credits cannot be transferred and they cannot be admitted to study in the next grade. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative State and Guidelines for Academic Administration in Primary Schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics