ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author วรวุฒิ บุตรศรรีภูมิ
dc.date.accessioned 2021-11-15T03:43:05Z
dc.date.available 2021-11-15T03:43:05Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7920
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา ใช้กลุ่มตัวอย่าวงจำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มจากประชากรด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.9538 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t- test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ด้วยวีการเชฟเฟ่ ส่วนระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือด้านการคัดกรองนักเรียน การส่งต่อนักเรียน การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งเสริมนักเรียนตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกัน และ เมื่อจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ตามความคิดเห็นของผู้สัมภาษณ์ พบว่าครูที่ปรึกษา ควรสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคลครบทุกคน พร้อมทั้งจดบันทึกพฤติกรรมในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัวและด้านอื่นๆ สถานศึกษาควรมีการประชุมเพื่อวางแผนเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนให้มีมาตรฐาน เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน สถานศึกษาควรใช้ข้อมูลด้านการคัดกรองนักเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้ครอบคลุมนักเรียนทุกคน สถานศึกษาควรมีครูแนะแนวที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษานักเรียนโดยเฉพาะ และสถานศึกษาควรประชุมร่วมกันเพื่อวางแผน เกณฑ์การส่งต่อนักเรียนทั้งการส่งต่อภายในและการส่งต่อภายนอกให้มีมาตรฐานและแนวปฏิบัติเดียวกันทั้งสถาบัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 en_US
dc.title สภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 en_US
dc.title.alternative State and Guidelines for Developing Students Support System In Schools Under Secondary Educational Service Area Office 30 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics