ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.author ยรรยง กะซิรัมย์
dc.date.accessioned 2021-11-15T03:39:57Z
dc.date.available 2021-11-15T03:39:57Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7919
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 346 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามตรวจสอบรายการและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งแบบสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร มีค่าความเชื่อมั่น .923 และความผูกพันต่อองค์กร มีค่าความเชื่อมั่น .924การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านที่ 3ด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ( = 4.07) รองลงมาคือ ด้านที่ 4 ด้านวัฒนธรรมแบบราชการ( = 4.06) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 2 ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ ( = 4.04) 2. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านที่ 2 ด้านความทุ่มเทต่อองค์กร ( = 4.38) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 ด้านความจงรักภักดีต่อองค์กร ( = 4.26) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 1 ด้านความศรัทธาต่อองค์กร ( = 4.10) 3. จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กร ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .753) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุดคือ ด้านที่ 4 วัฒนธรรมแบบราชการ (r =.712) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (r = .710) ด้านที่ 2 วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (r = .641) และด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 1 วัฒนธรรมแบบปรับตัว (r = .622) ตามลำดับ en_US
dc.description.abstract The objectives of this study were 1) to examine level of organizational culture and commitment of teachers under Secondary Educational Service Area Office 32; and 2) to study the relationship between organizational culture and commitment of teachers under Secondary Educational Service Area Office 32. The samples were 346 teachers from schools under Secondary Educational Service Area Office 32 selected by using Krejcie and Morgan’s table. Then, stratified random sampling was implemented. The data were collected by using a questionnaire which was divided into checklist and rating scale. The reliability level of the organizational culture questionnaire was at .923 and .924 for organizational commitment questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient. The results were as follows: 1. Level of organizational culture of teachers was at a high level ( = 4.06) in overall aspect. When considered each aspect, it was found that every aspect was at a high level in which Aspect Number 3 ‘Clan Culture’ received the highest mean score ( = 4.07) , followed by Aspect Number 4 ‘Bureaucratic Culture’ ( = 4.06), while Aspect Number 2 ‘Achievement Culture,’ received the lowest mean score ( = 4.04). 2. Opinions of teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 towards organizational commitment were at a high level ( = 4.27) in overall aspect. When considered each aspect, it was found that every aspect was at a high level in which Aspect Number 2 ‘Organizational Engagement’ received the highest mean score ( = 4.38) followed by Aspect Number 3 ‘Organizational Loyalty’( = 4.26),while Aspect Number 1 ‘Faith in Organization,’ gained the lowest mean score ( = 4.10). 3. The result of the relationship between organizational culture and commitment of teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 was somewhat highly positive in overall aspect with statistically significant level of .01 (r = .753). When considered each aspect, it was also found positive at statistically significant level of .01. In addition, the aspect which received the highest positive correlation coefficient level was Aspect Number 4 ‘Bureaucratic Culture’ (r =.712) followed by Aspect Number 3 ‘Clan Culture’ (r = .710) and Aspect Number 2 ‘Achievement Culture’ (r = .641), while Aspect Number 1 ‘Adaptability Culture’ received the lowest positive correlation coefficient level (r = .622), respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative Relationships between Organizational Culture and Commitmentof Teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics