ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.author วราพร จะรอนรัมย์
dc.date.accessioned 2021-11-15T03:20:23Z
dc.date.available 2021-11-15T03:20:23Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7912
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครู จำนวน 346 คน ได้จากการสุ่มจากประชากรแบบแบ่งชั้นตามขนาดของ โรงเรียน แต่ละชั้นสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างในแต่ละด้านจะทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการแสดงความน่าเชื่อถือ รองลงมาคือ ด้านการร่วมแบ่งปันภาวะผู้นำส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาผู้อื่น 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ที่มีจำนวนมากที่สุดในแต่ละด้าน คือ ผู้บริหารควรมีบุคลิกภาพที่สง่างาม ผู้บริหารควรแบ่งงานแต่ละฝ่ายตามความสามารถและความเหมาะสมตามศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน งบประมาณในการพัฒนาตนเองให้กับบุคลากรทางการศึกษาผู้บริหารควรจัดบรรยากาศในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารควรบริหารงานอย่างเป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้บริหารควรยอมรับข้อผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ตามลำดับ en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were 1) to study teachers’ opinions towards servant leadership of schools administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 and 2) to compare teachers’ opinions towards servant leadership of schools administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 classified by work experience and schools size. The samples were 346 teachers selected by using stratified random sampling according to schools size. The instrument was a questionnaire. The collected data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation (S.D). The hypothesis was tested by using independent t-test andOne-way ANOVA. Scheffé's Method of paired comparison was used when the difference in each aspect was found. The results revealed that: 1. Teachers’ opinions towards servant leadership of schools administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 were at a high level in overall aspect. The aspect with the highest level was Showing Reliability followed by Shared of Leadership while the aspect of Development of Others received the lowest level. 2. Comparison of teachers’ opinions towards servant leadership of schools administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 classified by work experience and schools size was not different in overall and each aspect. 3. Other comments and suggestions about servant leadership of schools administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 which received the highest level were that administrators should have an elegant personality and should assign tasks and duties according to the ability of each personnel appropriately. Moreover, the administrators should promote and support budget in self-development for education personnel and they should also create appropriate learning and working atmosphere for education personnel. Besides, the administrators should administrate systematically, transparently and be verifiable. Finally, the administrators should also accept mistakes made by themselves or others. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative Servant Leadership of Schools Administrators under Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics