ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ชัยวงศ์, ณรงค์กร
dc.contributor.author พักโพธิ์, กมลลัดดา
dc.contributor.author ไกรสินทร์, วรินทร์
dc.date.accessioned 2021-09-13T07:46:15Z
dc.date.available 2021-09-13T07:46:15Z
dc.date.issued 2020-08
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7833
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เปรียบเทียบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้น ต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและคำนวณตามสัดส่วนประชากรของแต่ละชั้น คุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (Matched pair) ตามเพศ และเกรดเฉลี่ย และใช้วิธีการสุ่มในการจัดกลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้น ทั้งหมด 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้น ที่พัฒนาจากทฤษฎีการเรียนรู้ของ บลูม (Bloom, 1956) ประกอบด้วย (1) การบรรยายโดยใช้สื่อประกอบ (2) การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (3) การสาธิตย้อนกลับภายใต้การกำหนดสถานการณ์จำลอง (4) การสอบวัดความรู้ และสอบทักษะปฏิบัติการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานตาม CPR guideline 2020 มีค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้เท่ากับ .79 และ แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .96 แบบสังเกตและประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้การในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t54 = 5.94, p < .001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t54 = 3.19, p = .002) 2. กลุ่มทดลองสามารถผ่านการทดสอบทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 100 สรุป: ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้น จะช่วยเสริมสร้างทักษะและเพิ่มการรับรู้ความสามารถผู้ช่วยเหลือในการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Effects of Learning Skill Development of Basic Life Support to Sudden Cardiac Arrest Program for Student of Buriram Rajabhat University en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics