ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

วิธีการแก้ปัญหาที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author จิรปรียา, ดำหริ
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:55:13Z
dc.date.available 2017-09-02T05:55:13Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/760
dc.description.abstract ความมุ่งหมายของงานวิจัย 1)เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สอบแบบสอบถาม เป็นนักบริหารการศึกษา จำนวน 4 คน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่เป็นผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 274 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 334 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ 1.1ปัญหาและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้าน มีปัญหาการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง 1.2 ความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้าน มีความต้องการในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานมาก 2.วิธีแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้ 2.1 ด้านบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเห็นความสำคัญของการศึกษา จัดสรรงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างเพียงพอกับความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งด้านการจัดซื้อวัสดุ สื่อการเรียนการสอน การปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีการระดมทุน เช่นการทำผ้าป่าสามัคคี ร่วมกับชุมชน และบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.2ด้านบุคลากร ผู้ดูแลเด็กควรจบการศึกษาปริญญาตรี สาขาปฐมวัย องค์การบริหารส่วนตำบลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ดูแลเด็กได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กได้รับทุนการศึกษาปริญญาตรีสาขาการศึกษาปฐมวัยทุกคนและผู้ดูและเด็กก็ควรมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก 2.3 ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย สถานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นไปตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีอาคารมั่นคง ถาวร ที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรอยู่ในพื้นที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและไม่มีมลพิษ มีพื้นที่ใช้สอยแยกเป็นสัดส่วนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สภาพแวดล้อมภายนอกร่มรื่น มีการสำรวจเครื่องเล่นสนามที่ชำรุดและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี 2.4 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ผู้ดูแลเด็กควรมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์แบบบูรณการผ่านการเล่น ผู้บริหารควรส่งเสริมผู้ดูแลเด็กได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนกการจัดประสบการณ์ และการผลิตสื่อการเรียนการสอน มีหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น และผู้บริหารควรจัดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานและนิเทศการดำเนินงานจากนักบริหารการศึกษา 2.5 ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ชุมชน ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะพื้นบ้าน คุณธรรม จริยธรรม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจัดให้มีการประชุมกันระหว่างผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ดูแลเด็ก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มีโครงการเยี่ยมบ้าน จัดมุมผู้ปกครอง จัดทำแผ่นพับ วารสารหรือจดหมายข่าวของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.6 ด้านส่งเสริมเครือข่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาเด็กเล็กระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด มีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน มีการสรุปและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ คณะกรรมการเครือข่ายควรประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ผู้ดูแลเด็ก มีกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title วิธีการแก้ปัญหาที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Methods of problem solving responding to needs on the oreration of child development centers under Kandong Sub- district administrative organization in Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics