ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.author สายัณร์, รอดจันทึก
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:51:42Z
dc.date.available 2017-09-02T05:51:42Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/750
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บิหารโรงเรียนใช้ประชากร จำนวน 193 คน ส่วนครู จำนวน 317 คน ได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมืที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 1.78-5.20 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีเฉลี่ยค่าสูงสุด คือ การใช้อำนาจตามกฎหมาย รองลงมา คือ การใช้อำนาจการให้รางวัล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การใช้อำนาจความเชี่ยวชาญ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ด้านอำนาจข่าวสาร และด้านอำนาจพึ่งพาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านอำนาจอ้างอิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจอ้างอิง ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ด้านอำนาจข่าวสาร และด้านอำนาจพึ่งพาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านอำนาจการให้รางวัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ที่มีผู้เสนอแนะมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารมอบหมายงานโดยไม่คำนึงถึงความสามรถของครูที่ปฏิบัติ ผู้บริหารไม่เป็นกันเองต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และสถานศึกษาไม่สามารถปฏิบัติตามแผนพัฒนาการศึกษาได้อย่างชัดเจน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title สภาพการบริหารงานโดยการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative The States of Management by the Power of School Administrators Under Buriram Primary Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics