ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Show simple item record

dc.contributor.author สุกานดา, อันดี
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:45:26Z
dc.date.available 2017-09-02T05:45:26Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/735
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อ การเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านโคกยางหนองตาสี อำเภอนางรอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว (One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน จำนวน 10 เล่ม แต่ละเล่มจะมีแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ .58 - .79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .25 - .50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.87 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ค่า t (Dependent Sample t – test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.41/81.70 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน สูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 32.68 และมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน มีค่าดัชนีประสิทธิผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.44 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 89.80 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน อยู่ในระดับมาก นอกจากนั้นยังพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ มีความสนใจที่จะอ่านหนังสือในกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่นๆ นอกเหนือจากหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน มีนิสัย รักการอ่าน มีทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านเพิ่มมากขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยการและะเทคโนโลยี en_US
dc.title การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชุดนิทานพื้นบ้าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 en_US
dc.title.alternative THE DEVELOPMENT OF FOLKTALE BOOKLETS SUPPLEMENTING CRITICAL READING SKILLS AT THE LEVEL OF MATHAYOMSUAKSA II en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics