ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์กระบวนการนโยบาย นโยบายการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กรณีเด็กไทยกับไอที เรื่องเด็กติดเกม

Show simple item record

dc.contributor.author จอดนอก, กนิษฐา
dc.contributor.author ยอดอินทร์, ฉวีววรณ
dc.date.accessioned 2021-03-16T18:27:52Z
dc.date.available 2021-03-16T18:27:52Z
dc.date.issued 2563-12-01
dc.identifier.citation วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 ประจําเดือน กันยายน – ธันวาคม 2563 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7329
dc.description.abstract บทคัดย่อ เด็กติดเกมเป็นปัญหาสําคัญคุกคามต่อคุณภาพชีวิตและวัฒนธรรม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ได้แก่ ตัวเด็ก ครอบครัว ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน โดยการออกนโยบายเร่งด่วนกรณีเด็กติดเกมอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐบาลเป็นสิ่งสําคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ เมื่อนําแนวคิดและวิเคราะห์ กระบวนการนโยบายด้วย The stage- sequential model ของ Ripley (1996) จํานวน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการกําหนดนโยบาย ขั้นร่างนโยบาย ขั้นนํานโยบายสู่การปฏิบัติ และขั้นประเมินผลนโยบาย โดยใช้ทฤษฎี Multiple streams ของ Kingdon (1995) ในขั้นตอนกระบวนการกําหนดนโยบาย สามารถสะท้อนการจัดทํานโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมสู่การปฏิบัติเร่งด่วนของประเทศไทย ดังนี้ การตรวจสอบความเหมาะสมของเกม มาตรการที่ชัดเจนจริงจังสําหรับร้าน ที่เปิดเกินเวลาและเป็นแหล่งมั่วสุม การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชนผ่านมิติทางสังคมและการเมือง อาทิ การบําเพ็ญ ประโยชน์ การส่งเสริมด้านกีฬาและการสร้างต้นแบบเด็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ วัด โรงเรียน และครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสําคัญที่สุดที่อยู่ใกล้ตัวเด็กที่จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมเด็กให้มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและสามารถสร้างเด็กให้มีคุณภาพ ผู้ปกครองต้องมีกระบวนการทางมาตรการติดตามกํากับดูแลการเล่นเกมของเด็ก การให้ข้อคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ลดความขัดแย้งในครอบครัว และการร่วมจัดกิจกรรมในครอบครัว การฝึก เด็กให้มีจิตใจรักธรรมชาติและสนับสนุนศักยภาพในความสามารถพิเศษของเด็ก รวมถึงการฝึกจิตทางด้านคุณธรรมจริยธรรม วิถีชีวิต เข้าวัดทําบุญตามเทศกาลสําคัญเหล่านี้จะช่วยป้องกันเด็กติดเกมได้ ซึ่งท้ายสุดแล้วเด็กเกิดกระบวนการคิดและเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมอันจะช่วยแก้ปัญหาเด็กติดเกมได้อย่างทันท่วงทีและยั่งยืน คําสําคัญ: การวิเคราะห์กระบวนการนโยบาย, การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก, นโยบายการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์กระบวนการนโยบาย, การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก, นโยบายการจัดการสภาพ แวดล้อมรอบตัวเด็ก Policy Process Analysis, Child Environmental Management, Child Environmental Management Policy en_US
dc.title การวิเคราะห์กระบวนการนโยบาย นโยบายการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กรณีเด็กไทยกับไอที เรื่องเด็กติดเกม en_US
dc.title.alternative Policy Process Analysis in 24 Hours for Child Environmental Management Policy: Thai Children and IT Perspective of Game Addiction en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor kachodnock@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor kanittha.cho@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics