ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.author สมาน, กลมกูล
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:35:56Z
dc.date.available 2017-09-02T05:35:56Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/716
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1 ) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 เกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 2 ) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 340 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 86 คน และครู จำนวน 245 คน ได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดโควตา คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คนและครู จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ประเภท คือแบบสอบถามแลุะแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ในแต่ละด้านตามวิธีการของเชฟเฟ่ และกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ส่วนการใช้เทคนิคสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยวิธีอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน และครูเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 เกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นกัน 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผุ้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 เกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุดด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคํญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ 4. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จากการสัมภาษณ์ พบว่า 1 ) ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ โรงเรียนควรมีการปรับปรุงพัฒนา และทบทวน การใช้หลักสูตรและการนำไปใช้ โรงเรียนควรมีการปรับปรุงพัฒนา และทบทวนการใช้หลักสูตร ในทุกปีการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนใช้กิจกรรมการเรียนทางสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล 3) ด้านการนิเทศภายใน ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้มีโอกาสในการนิเทศ เพื่อนำผลสะท้อนมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป 4) ด้านการวัดผลประเมินมาใช้ในการวางแผนพัฒนา 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ควรมีการจัดทำแผนพัฒนา เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative Problem and Guidelines of Academic Administration for the Small-Size Schools under Buriram Primary Educational Service Area Oeeice 1 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics