ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.author นิธิพัตต์, ศิริพยัคฆ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:31:27Z
dc.date.available 2017-09-02T05:31:27Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/707
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาดัชนีประสิทธืผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนชุมชนวัดชุมพร อำเภอละหารทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกาาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 22 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ด้วยวิธีการจับฉลากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจ จำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.79 ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.37 ภึง 0.77 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค้่า 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง และน้อย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Dependent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1.แบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.53/083.94 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ค่าเท่ากับ 0.6590 แสดงว่า มีความก้าวหน้าทางการเรียน 0.6590 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.90 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกด โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก " en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. en_US
dc.title ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแจกลูกและสะกดคำตรงตามมาตราตัวสะกดโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 en_US
dc.title.alternative The Effects ofReading Skills and Word Spelling Exercises Based on Alphabet Scale by Using Cooperative Learning STAD Technique for Prathomsuksa 1 Students en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics