ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันเด็กติดเกม

Show simple item record

dc.contributor.author จอดนอก, กนิษฐา
dc.contributor.author ยอดอินทร์, ฉวีววรณ
dc.date.accessioned 2020-09-14T04:32:54Z
dc.date.available 2020-09-14T04:32:54Z
dc.date.issued 2563-02-04
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7002
dc.description.abstract การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปัญหาเด็กติดเกม ในครั้งนี้ใช้วิธี Meta Analysis มีขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคำถามและกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นตอนที่ 5 รายงานและแปรผล (Hunter, Schmidt และ Jackson,1982; Glass, McGaw และ Smith, 1979) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลโปรแกรมป้องกันเด็กติดเกม ผลคือ จากการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ ทำให้เห็นประเด็นช่องว่างของความรู้ (gap of knowledge) ดังนี้ 1. การประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งเสริมพัฒนกิจครอบครัวในการป้องกันการติดเกมคอมพิวเตอร์ในเด็กวัยเรียน ควรคำนึงถึงกิจกรรมในใบงานและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เช่นการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ตามใบงานที่ 1 และความยากง่ายของใบงานต่าง ๆ ตามพื้นฐานของผู้ปกครอง หรือตามสถานการณ์ปัญหาการติดเกมที่ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้น 2. ควรมีการศึกษาติดตามผล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ปกครอง โดยเฉพาะการปฏิบัติพันธกิจของครอบครัว ว่าสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องอยู่หรือไม่ 3. ควรศึกษาติดตามผลของการปฏิบัติพันธกิจสำหรับเด็กวัยเรียนของผู้ปกครองว่าส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กวัยเรียนในการควบคุมตนเอง เกี่ยวกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือไม่อย่างไร 4. ควรมีการศึกษาการเสริมสร้างพันธกิจสำหรับเด็กวัยเรียนกับกลุ่มเด็กวัยเรียนเพื่อให้มีความสามารถในการควบคุมตนเองเพื่อป้องกันการติดเกมคอมพิวเตอร์ 5. เนื่องจากงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาเด็กติดเกมในเขตพื้นที่ตำบลศาลยา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก่อนวางกรอบเนื้อหาการป้องกัน ปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหากจะนำโปรแกรมการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์นี้ไปใช้จริงในโรงเรียน ผู้ใช้อาจจะต้องปรังปรุงเนื้อหาการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในบางประการ เช่น ลักษณะของร้านเกม/ร้านอินเทอร์เน็ต อันตรายต่าง ๆ ในร้านเกม/ร้านอินเทอร์เน็ต ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากการเล่นเกมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและปัญหาของนักเรียน อันจะทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนการป้องกันปัญหาการติดเกมไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข้อมูลในครั้งนี้ 6. ครูผู้สอนควรจะมีความใจกว้าง สามารถยอมรับความความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักเรียนได้ นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ใหม่ๆ 7. ในการสอนการป้องปัญหาเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์ อาจมีวิธีอื่นที่สามารถนำมาใช้อย่างได้ผล 8. การสอนการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ควรจัดกระบวนการต่อเนื่อง 9. ควรมีการศึกษาวิจัยถึงแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันปัญหาในระดับครอบครัว 10. ควรทำการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้กับตัวอย่างประชากรกลุ่มอื่น ๆ เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ (low self esteem) เป็นต้น เนื่องจากเด็กในกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป 11. โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของนักเรียนได้ ดังนั้นโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือที่จะสามารถช่วยให้ครู ครูแนะแนว นักจิตวิทยา ตลอดจนบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้การช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์และเลือกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อตัวเองได้ 12. ความพร้อมของสมาชิกกลุ่ม และผู้นำกลุ่ม บรรยากาศที่เป็นกันเองมีความอบอุ่นไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ส่งผลให้การจัดโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 13. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการทำสมาธิ ผู้วิจัยควรคำนึงถึงอายุ ความสนใจของสมาชิกกลุ่ม ความถนัดหรือความชำนาญของผู้วิจัย ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ เช่น สถานที่ สื่ออุปกรณ์ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก 14. ควรมีการศึกษากับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในระดับอื่น เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระดับอุดมศึกษา หรือกลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ 15. ควรมีการศึกษาผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์กับผลของการศึกษาการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ด้วยวิธีการอื่น ๆ ว่าวิธีการใดสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ได้เป็นเวลานานและคงทนกว่ากัน ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป 16. นักศึกษากลุ่มเสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์สามารถพัฒนาทักษะชีวิตได้ 17. ควรมีการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวในการป้องกันการติดเกมของเด็กวัยเรียนไปให้บริการกับครอบครัวในเชิงรุก เช่น งานด้านการส่งเสริมสุขภาพ งานด้านการให้คำปรึกษาครอบครัวและหน่วยงานสุขศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ครอบครัว และบุคคลทั่วไปในการทำหน้าที่ของครอบครัวเพื่อป้องกันการติดเกมของเด็กวัยเรียน ตลอดจนสามารถนำเอาโปรแกรมการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัว ไปใช้ในการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวเพื่อการป้องกันการติดเกมของ เด็กวัยเรียนต่อไป 18. การส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวสามารถเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพ และนักศึกษาพยาบาลที่ใช้ในการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวเพื่อการป้องกันการติดเกมของเด็กวัยเรียน เพื่อให้ครอบครัวคงไว้ซึ่งบทบาท และการทำหน้าที่ของครอบครัวในการป้องกันการติดเกมของเด็กวัยเรียนได้อย่างเหมาะสมต่อไป 19. ควรมีการศึกษาและติดตามผลของการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวในระยะยาวร่วมด้วยและควรมีการนำโปรแกรมส่งเสริมการทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเกมของเด็กวัยเรียนไปใช้ในการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอื่น หรือในบริบทพื้นที่อื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาวิชาชีพ และเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และเพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมในสถานที่ หรือบริบทอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไป Area setting งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในสถานศึกษา ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สิ่งที่น่าสนใจในการทำวิจัยต่อคือ ควรทำใน area setting อื่นๆ ที่มีบริบทแตกต่างกันไป เช่น ในชุมชน ในแหล่งชุมชนแออัด เป็นต้น Intervention งานวิจัยส่วนใหญ่มีการจัดกระทำในลักษณะที่ใช้โปรแกรมต่างๆ จัดกระทำกับ กลุ่มตัวอย่างเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการ จึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีอะไรอีกที่จะทำให้ กลุ่มตัวอย่างในการป้องกันเด็กติดเกม ข้อจำกัดในการศึกษา ในการศึกษาโปรแกรมการป้องกันเด็กติดเกมโดยการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ มีข้อจำกัด ด้านระยะเวลา ทำให้ได้งานวิจัยจำนวนไม่มากพอ ซึ่งหากมีงานวิจัยที่นำมาทบทวนในจำนวนที่มากพอ จะทำให้ได้ประเด็นเพิ่มเติมและเพิ่มความแข็งแกร่ง (strength) ของการศึกษามากขึ้น en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject เด็กติดเกม, ป้องกันเด็กติดเกม en_US
dc.title ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันเด็กติดเกม en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kachodnock@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor kanittha.cho@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics