ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.author รัสรินทร์, แพร่งสุวรรณ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:27:24Z
dc.date.available 2017-09-02T05:27:24Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/698
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทักษะการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทยโดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ4) ศึกษาความพอใจต่อการเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 32 ซึ่งมีจำนวน 40 คน ได้โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด ดังนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 50 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.36 - 0.74 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32 – 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 / E2 และ E.I. การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติที (t – test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1.แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย โดยใช้รูปแบบการสอน ซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมะยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 87.50 / 87.05 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ดัชนีประสิทธิผลของการเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระกาเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบ การสอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6746 คิดเป็นร้อยละ 67.46 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.6746 คิดเป็นร้อยละ 67.46 4.ความพึงพอใจต่อการเรียน เรื่องทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย โดยใช้รูปแบบการ สอนซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก "" en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title การพัฒนาทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาโมเดล (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title.alternative THE DEVELOPMENT OF COMMUNICATION SKILLS OF THAI LANGUAGE LEANING STRAND BY USING CIPPA MODEL INSTRUCTION FOR MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics