ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความได้เปรียบทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author อุษณีย์, ผาสุข
dc.contributor.author สุทธินันทน์, พรหมสุวรรณ
dc.contributor.author สุทธินันทน์, พรหมสุวรรณ
dc.contributor.author สหนนท์, ตั้งเบญจสิริกุล
dc.date.accessioned 2020-09-02T02:41:45Z
dc.date.available 2020-09-02T02:41:45Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation รมยสาร,ปีที่ 16 ฉบับที่3 ( ก.ย-ธ.ค 2561) หน้า 293-312 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6902
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี และนำเสนอแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมลสำคัญ (Key informants) ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเมืองสมุนไพรที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารโรงพยาบาลหรือตัวแทน บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ประกอบการตัวแทนท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 17 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ด้วยวิธีการแบบสามเส้า (Data triangulation) น าข้อมูลมาท าการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ตามตัวแบบการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) รวมทั้ง 294 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใช้ SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเชิงบวกในด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย มีโรงพยาบาลมาตรฐานสากล มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ภูมิปัญญาแผนไทย มีพืชสมุนไพรที่อุดมสมบรูณ์ สินค้าและบริการจากสมุนไพรมีความหลากหลาย และมีงานวิจัยรองรับสินค้าและบริการ ตลอดจนมีสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ อย่างไร ก็ตาม ยังมีปัจจัยเชิงลบที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความได้เปรียบเชิงทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ ขาดการสร้างเครือข่ายภายในจังหวัดระหว่างธุรกิจเมืองสมุนไพรที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โรงพยาลบางแห่งมีการให้บริการแบบไม่ครบวงจร ขาดคนกลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพรภายในจังหวัด รวมถึงลักษณะทางกายภาพบางอย่างยังเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับให้จังหวัดปราจีนบุรีเป็นเมืองต้นแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย (Medical Hub of Asia) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการแก้ไข และเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี ในการรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไว้ 4 แนวทาง คือ 1) การสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการจากสมุนไพร 2) การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ 3) การพัฒนาภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมเทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4) การพัฒนาเส้นทางการเชื่อมโยง และสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน คำสำคัญ : ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, เมืองสมุนไพร, นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ en_US
dc.description.abstract The objectives of this qualitative research were to study the competitive factors of Herbal City in Prachinburi Province in order to propose the guidelines for competitive advantage of Herbal City in Prachinburi Province towards Leading Wellness Tourism. The data were collected by a purposive sampling method from informally interviewing 17 key informants who were involved with Herbal City Business. These included the government officers, the hospital en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความได้เปรียบทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ en_US
dc.title ความได้เปรียบทางการแข่งขันของเมืองสมุนไพรในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ en_US
dc.title.alternative Competitive Advantage of Herbal City in Prachinburi Province towards Leading Wellness Tourism en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics