ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัวร่วมสมัยเพื่อการตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหม ชุมชนวัดหิรัญรูจี เขตธนบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author จุฬาลักษณ์, จารุจุฑารัตน์
dc.contributor.author วงศ์ทอง, เขียนวงศ์
dc.contributor.author รัชนก, ปัญญาสุพัฒน์
dc.date.accessioned 2020-09-01T08:27:27Z
dc.date.available 2020-09-01T08:27:27Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation รมยสาร,ปีที่ 16 ฉบับที่3 ( ก.ย-ธ.ค 2561) หน้า339-357 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6880
dc.description.abstract การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว เป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่มีความสวยงาม เช่น ดอกไม้ ตุ๊กตาและของชำร่วยต่าง ๆ งานประดิษฐ์จากผ้าใยบัว มีต้นทุนที่ไม่สูงและมีความสวยงานเกินมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ กลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมชุมชนวัดหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัวและเป็นสินค้า OTOP ประจำชุมชน มีเป็นประโยชน์อย่างมากให้แก่คนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้ สามารถทำเป็นงานอดิเรกได้ โดยไม่มีผลกระทบต่องานประจำแต่การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัวในชุมชนมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่หลากหลาย และไม่มีการประยุกต์ไปในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ขนาดเล็กใช้สำหรับตกแต่งต่างๆ และไม่เน้นทางด้านอรรถประโยชน์ใช้สอย ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเรื่องการออกแบบกล่องกระดาษทิชชูด้วยผ้าใยบัวกรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมชุมชนวัดหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาของผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัวและประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัวร่วมสมัยเพื่อการตกแต่งภายใน 340 ที่อยู่อาศัย และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัวร่วมสมัยของชุมชนกลุ่มอาชีพหิรัญรูจี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วยเครื่องมือ แผนภูมิวิเคราะห์ผู้บริโภค ในการเป็นแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รูปแบบ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงของกลุ่มวัยทำงานเพศหญิง อายุระหว่าง 25-40 ปี จำนวน 30 คน ในเขตที่พักอาศัยชุมชนเมือง พบว่า จากแบบประเมินหัวข้อด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัว จำนวน 11 ข้อ พบว่าโดยความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัวที่มีคุณสมบัติความยืดหยุ่นของผ้าใยบัว ความสดใสของสีผ้า และการใช้งานที่เหมาะสม โดยค่าความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วในสามอันอับแรก คือด้านรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว( X̅ =3.93, S.D.= 0.62) ด้านการใช้งานผลิตภัณฑ์ พบว่า รูปแบบเหมาะสมเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ภายในสำนักงาน( X̅ =4.00, S.D.=0.58) ด้านส่งเสริมการจัดจำหน่าย พบว่า ผลงานการออกแบบสามารถนำไปผลิตในระดับชุมชนได้ ( X̅ = 3.95, S.D.=0.79) จากผลการวิจัยในครั้งนี้ผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบังสามารถออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัวร่วมสมัยที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสามารถนำไปผลิตภายในชุมชนเพื่อเสริมสร้างรายได้และเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนได้อย่างมีนัยสำคัญ คำสำคัญ : ผ้าใยบัว, การตกแต่งภายใน, ที่อยู่อาศัย en_US
dc.description.abstract The invention of nylon stocking fabric products is a field of aesthetic art such as flowers, dolls and souvenirs. These products were low cost and exceed the value of the products. Silk Handicraft Group of Wat Hiranruji Community, Thonburi, Bangkok was a group that combined to invent One Tumbon One Product (OTOP) from nylon stocking fabric which was very useful for making income for this community and they can work as hobby without affecting to the routine. However, the invention of the nylon stocking fabric product in this community had the same model and limited shape, and the community did not apply for different product. The most of 341 products were artificial flowers, small crafts for decorating and were not focus on utilities. The researchers studied the design of napkin box by nylon stocking fabric, case study of Silk Handicraft Group of Wat Hiranruji community, Thonburi, Bangkok. The purposes of conducting research were: 1) to study and analyse conditions and problems of nylon stocking fabric product and apply with the contemporary style for interior residence decoration, and 2) to design and develop contemporary nylon stocking fabric product of Silk Handicraft Group, Wat Hiraruji, and 3) to evaluate satisfaction of target group with the product. This research was a mixed - method research. The data were collected by questionnaires and study of target group’s behavior with the Mood Board tools for concept and design for 3 patterns. The sample included 30 working-age females who were between 25-40 years old living in urban area. They were selected via purposive random sampling. The results revealed that the suitability of nylon stocking fabric product had flexibility, brightness of fabric and proper using. The target group were satisfied with the product as follows: Product characteristics were modern and unique (X̅ = 3.93, SD = 0.62), the function of product was suitable for using in the office ( X̅ = 4.00, SD = 0.58), in the promotion of distribution, the product which was designed could be produced in the community (X̅ = 3.95, SD = 0.79). Based on this research, the entrepreneurs could design and develop the contemporary nylon stocking fabric products in order to meet the needs of target group’s demand and produce products in the community for significantly increasing income and community identity. Keywords: nylon stocking fabric, interior design, residence en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัวร่วมสมัยเพื่อการตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหม ชุมชนวัดหิรัญรูจี เขตธนบุรี en_US
dc.title การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัวร่วมสมัยเพื่อการตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหม ชุมชนวัดหิรัญรูจี เขตธนบุรี en_US
dc.title.alternative The Design of Contemporary Nylon Stocking Fabric for Interior Residence Decoration:A Case Study of Community Enterprise of Silk Handicraft at Wat Hirunruji Community in Thonburi District en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics