ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรมเรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.author วิมล, เผ่าเวียงคำ
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:22:07Z
dc.date.available 2017-09-02T05:22:07Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/687
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม เรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรมเรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรมเรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านโคกลอย อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าความยาก ( P ) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนก ( D ) ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบทดสอบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ ค่าสถิติ t (One Sample t-test) ผลการวิจัยสรุปว่า 1. ชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.63/83.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนมากกว่าร้อยละ 20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมากจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบทบาทครู คือครูใช้ภาษาเข้าใจง่ายส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.91 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 ด้านเนื้อหา พบว่า นักเรียนพึงพอใจที่เนื้อหาง่ายเหมาะสมกับวัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.77 ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.68 ด้านสื่อประกอบการเรียนรู้ นักเรียนพึงพอใจที่เรียนจากสื่อแปลกใหม่น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.68 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรม ควรใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ทันสมัย ครูควรศึกษาวิธีการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนการดำเนินการสอนควรมีการปฐมนิเทศนักเรียนก่อนเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและบทบาทครู บทบาทนักเรียน ในระหว่างดำเนินกิจกรรมควรปลูกฝังคุณธรรม ด้านความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละครั้งควรมีการสรุปและแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนจะช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. en_US
dc.title การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มกิจกรรมเรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title.alternative Development of Group-activity Learning Package on the topic en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics