ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับ ผู้บกพร่องทางสายตาด้วยระบบการพิมพ์สกรีน

Show simple item record

dc.contributor.author วงศ์ทอง, เขียนวงศ
dc.date.accessioned 2020-09-01T07:44:42Z
dc.date.available 2020-09-01T07:44:42Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation รมยสาร,ปีที่ 16 ฉบับที่3 ( ก.ย-ธ.ค 2561) หน้า359-377 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6867
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ระบบการพิมพ์สกรีนด้วยอักษรเบรลล์ 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ข้อมูลของการใช้บรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ระบบการพิมพ์สกรีนด้วยอักษรเบรลล์ที่มีข้อความอักษรเบรลล์ติดอยู่ของผู้บกพร่องทางสายตาและผู้ไม่มีความผิดปกติทางสายตา และ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของขนาด สี รูปทรงของตัวอักษรเบรลล์ต่อความสามารถในการพิมพ์ โดยมีขอบเขตของการวิจัยคือ การทดสอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทย ได้แก่ รูปทรงและขนาดของบรรจุภัณฑ์ การศึกษาผลของเส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาของอักษรเบรลล์ที่ได้จากการพิมพ์สกรีนก่อนและหลังขยายจุด การทดสอบการพิมพ์อักษรเบรลล์ลงบนบรรจุภัณฑ์ และการประเมินผลการรับรู้ข้อมูลของการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีข้อความอักษรเบรลล์ติดอยู่ของผู้บกพร่องทางสายตาและผู้ไม่มีความผิดปกติทางสายตา วิธีดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย งานวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิง 360 ปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บกพร่องทางสายตา จำนวน 30 คน ผู้บกพร่องทางสายตาและสามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้จากศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จำนวน 30 คน และ ผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางสายตาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ผลการดำเนินการวิจัยพบว่า กระดาษอาร์ตมัน ขนาด 250 แกรม เป็นชนิดกระดาษที่เหมาะสมสำหรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์และประยุกต์พิมพ์อักษรเบรลล์ลงบนบรรจุภัณฑ์ด้วยระบบการพิมพ์สกรีนสำหรับข้อความสำคัญที่เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ชื่อผลิตภัณฑ์อาหาร 2) สรรพคุณสินค้าผลิตภัณฑ์ 3) ข้อบ่งใช้ วิธีการบริโภค 4) ขนาดและการบรรจุ และ 5) ราคา และประเภทของขนมไทย 5 ชนิด คือ ขนมเปียกปูน ขนมเม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมทองหยอด และ ขนมฝอยทอง และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ คือ 1) รูปทรงสี่เหลี่ยม 2) รูปทรงตะกร้า 3) รูปทรงถุงหูหิ้ว 4) รูปทรงสามเหลี่ยม และ 5) รูปทรงกล่อง จากแบบประเมินอันดับแรกผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการผลิตฉลากบรรจุภัณฑ์ขนมไทยด้วยอักษรเบรลล์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา (ร้อยละ 70) รองลงมาคือ ควรให้มีอักษรเบรลล์บนบรรจุภัณฑ์ขนมไทยและบรรจุภัณฑ์อาหารทุกชนิด และอักษรเบรลล์บนบรรจุภัณฑ์ขนมไทยนี้ทำให้สามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างถูกต้อง (ร้อยละ 63.33) และอันดับที่ 3 คือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการพัฒนาอักษรเบรลล์บนบรรจุภัณฑ์และนอกจากบรรจุภัณฑ์ขนมไทยแล้ว ควรมีการพัฒนาอักษรเบรลล์ให้แพร่หลายไปยังผลิตภัณฑ์อื่น และผู้บกพร่องทางสายตาได้รับประโยชน์จากฉลากบรรจุภัณฑ์อาหารอักษรเบรลล์อย่างมาก (ร้อยละ 60) สำหรับผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางสายตา พบว่า อักษรเบรลล์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการอ่านข้อความบนบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 86.67 ) รองลงมาคือ อักษรเบรลล์ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าโดยรวม (ร้อยละ 83.33) และอันดับสุดท้าย คือ เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อมวลชนในการเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศและวัย(ร้อยละ 83.33 ) การวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบตามหลักของ การออกแบบเพื่อมวลชนในการเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศและวัย บรรจุภัณฑ์ คำสำคัญ : บรรจุภัณฑ์ขนมไทย, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้บกพร่องทางสายตา, ระบบการพิมพ์สกรีน en_US
dc.description.abstract The objectives of this research were 1) to develop Thai dessert packaging for health promotion by using screen printing with braille, 2) to evaluate the perception of the users on using Thai dessert packaging for health promotion with screen printed braille label for blind people and normal people, and 3) to study the appropriateness of the size, color, shape of the braille characters on printing ability. The scopes of the study were the testing of the shape and size design for Thai dessert packaging, the effect of diameter and thickness of pre and post-dot screen printing braille on packaging and the assessment of blind people and normal people perception on using Thai dessert packaging with screen printed braille label. The Methodology consisted of mixed methods of qualitative and quantitative researches. The tool was a questionnaire. The target groups were a group of 30 blind people, a group of 30 blind people who could read braille from Sampran Rehabilitation & Training Center for blind woman, and a group of 30 normal people in Bangkok. The results found that 250 grams coated paper was suitable for packaging and applying for printing braille with screen printing. The important messages were; 1) food product name, 2) product properties, 3) indications and consumption habits, 4) size and packing, and 5) price. The five favourite Thai desserts were; Kanom Piakpoon, Med Kanun, Kanom Chan, Thong Yot and Foi Thong. The patterns of packaging were; 1) rectangular shape, 2) basket shape, 3) bag handle shape, 4) triangle shape, and 5) box shape in respectively. The assessment of perception showed that 70% of blind people strongly agreed to produce Thai dessert packaging with braille, 63.33% of blind people agreed to apply braille on Thai dessert packaging and all kinds of food packaging because braille could help them for choosing product correctly, and 60% of blind people agreed to develop braille to other products that is useful for blind people. For normal people, 86.67% of them agreed that braille did not affect with reading on packaging, 83.33% of them agreed that braille had no impact on overall image of product. This research is Universal Design for all people. Keywords: Thai dessert packaging, health promotion, blind people, screen printing en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับ ผู้บกพร่องทางสายตาด้วยระบบการพิมพ์สกรีน en_US
dc.title การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับ ผู้บกพร่องทางสายตาด้วยระบบการพิมพ์สกรีน en_US
dc.title.alternative The velopment of Thai Desserts Packaging for Promotion Health of Blind People by Screen Printing en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics