ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดร. ธนิน กรอธิพ งศ์ en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author ยุพิน, คะเนวัน
dc.date.accessioned 2020-08-18T04:14:43Z
dc.date.available 2020-08-18T04:14:43Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6812
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามความคิดของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ครูจำนวน 331 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกนแล้วสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9537 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารทั่วไปและด้านจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการติดตามและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนตามคิดของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน วุฒิการศึกษาปริญญาตรีโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการติดตาม และประเมินผล อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนโรงเรียนอื่นๆ อยู่ในระดับมาก en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to study and to compare role of school administrators for supporting moral and ethic to students from opinions of teachers under Secondary Educational Service Area Once 32, classified by educational level, work experiences and school sizes. The samples consisted of 331 teachers selected by using Krejcie & Morgan's table and Multi-stage Sampling in line with school sizes. The research tool was a questionnaire with three parts: check-list, five rating scale, and open-ended farts with the reliability of 9537. The statistics used to analyze the obtained data were percentage, mean and standard deviation. Moreover, the hypothesis was tested by using t-test, One Way ANOVA. The research results revealed that: 1. The teacher's opinions on role of school administrators for supporting moral and ethic to students under Secondary Educational Service Area Office 32 were overall found at a high level. When considering each aspect, it was found that the general services and activities for promoting ethics and morality were at the highest level. In terms of teaching activities and monitoring and evaluation were at a high level. The highest level of moral and ethical activity was observed; however the monitoring and evaluation has the lowest mean. 2. The comparative study of teachers’ opinions on administrative role in administrative role moral promotion classified by educational background, was found that the overall and the individual aspects were different. Bachelor degree overall performance was at the highest level. For higher education, the overall performance was at a high level. When considering each aspect, it was found that all aspects were at a high level. 3. A comparative study of teachers' opinions on the role of school administrators and teachers the performance was at a high level. When considering each aspect, it was found that medium and large schools were at the high level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 en_US
dc.title บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 en_US
dc.title.alternative Role of School Administrators for Supporting Moral and Ethic to Students from Opinions of Teachers under Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics