ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดร.เทพพร โลมารักษ์ en_US
dc.contributor.advisor ดร.ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.author พิทยพัฒน์, ลุนโน
dc.date.accessioned 2020-08-17T07:09:21Z
dc.date.available 2020-08-17T07:09:21Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6755
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 เครื่องมือ ที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ประเด็นสำคัญจากเนื้อหา แปลผลในรูป การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เฝ้าระวัง ดูแลรักษา พัฒนาแหล่ง การเรียนรู้ภายในโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเป็นหลัก เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ และร่วมกันประเมินโครงการและกิจกรรม 2. การบริหารงานงบประมาณ โรงเรียนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการใช้งบประมาณและการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ โรงเรียนได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานเป็นกรรมการตรวจสอบงบประมาณและขยายผลการใช้งบประมาณของโรงเรียนให้ชุมชนได้รับทราบ 3. การบริหารงานบุคคล โรงเรียนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมในเชิงของการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสรรหาบรรจุแต่งตั้งบุคลากร และ การสรรหาวิทยากรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่โรงเรียนต้องการ และมีส่วนร่วมใน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรภายในโรงเรียน 4. การบริหารงานทั่วไป โรงเรียนเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแล บำรุงรักษา พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมกับในการจัดกิจกรรม โรงเรียนมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร ให้กับเครือข่ายการศึกษา ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับทราบ ชุมชนมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจการนักเรียน ในรูปแบบของการระดมทรัพยากรเข้ามาช่วยเหลือและการเป็นผู้ร่วมดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมในโรงเรียน en_US
dc.description.abstract Thisresearchintendstostudybest practices for communityparticipationineducationalmanagement of small primaryschoolsinBuriram province. BasicEducationBoardfromthe Office of BuriramPrimaryEducational Service Area 2 and 3 whichreceivedthefirstprizeinbestpracticeforcommunityparticipationof smallsizeschoolswerepurposivelyselectedtobethetargetgroup. The instrument used to collect the data was semi-structured interview and the important issues from the collected data were analyzed and interpreted by using descriptive analysis. The findings were as follows: 1. AcademicAdministration : Schoolscollaborated with local speakers to educate students about locality, precaution, security, and development of school learning resources. Moreover, school administrators had a wide vision to listen to community’s opinions and provided a chance for the Basic Education Board to deliberate, decide and evaluate school projects and activities. 2. Budget Administration : The Basic Education Board received a chance to comment on school budget plans and fund raising for education by establishing the committee from the locals. Moreover,the Basic Education Board was assigned to examine the budget and publicize the school’s budget plan to the community. 3. Personnel Administration : The Basic Education Board was allowed to show their opinions to select suitable teachers or local speakers and make a decision to promote school personnel based on their performance. 4. General Administration : Community involved as committee members to make a decisionto maintain and develop school’s bulidings and environment for learning. The role of the school was as a coordinator to communicate and publicize information to educational networks, local leaders, and the Basic Education Board. The community participated in student’s activities through fund raising project and co - organized school’s activities. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject แนวปฏิบัติที่ดีด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวปฏิบัติที่ดีด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative BEST PRACTICES FOR COMMUNITY PARTICIPATION IN EDUCATIONAL MANAGEMENT OF SMALL PRIMARY SCHOOLS, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics