ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาข้ามวัฒนธรรมวัจนกรรมการกล่าวคำชมเชยและการตอบรับ การกล่าวคำชมเชยระหว่างภาษาจีกับภาษาอังกฤษ

Show simple item record

dc.contributor.author ลี, ชู
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:17:00Z
dc.date.available 2017-09-02T05:17:00Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/673
dc.description.abstract การกล่าวคำชมเชยและการตอบรับการกล่าวคำชมเชย มีการนำมาใช้อย่างมากในการสนทนาข้ามวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นมารยาทของคนทั่วโลก ทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างการสนทนา ดังนั้น การกล่าวคำชมเชยหรือการตอบรับการกล่าวคำชมเชยหรือการตอบรับการกล่าวคำชมเชยในมุมมองที่แตกต่างหรือเหมือนกันในสถานการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการความประทับใจและเกิดสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างการสื่อสารในชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์ในการศึกษาในครั้งนี้เพื่อ 1) สำรวจกลวิธีการกล่าวคำชมเชยของเจ้าของภาษาอังกฤษกับชาวจีน 2) สำรวจกลวิธีการกล่าวการตอบรับคำชมเชยของเจ้าของภาษาอังกฤษ และชาวจีน 3) เปรียบเทียบกลวิธีการกล่าวคำชมเชยระหว่างเจ้าของภาษาอังกฤษ และชาวจีนจำแนกตามหัวข้อ ( หน้าตา การแสดงความเป็นเจ้าของและความสามารถ ) และเหตุผลทางสังคม ( ฐานะทางสังคม ) 4)เปรียบเทียบกลวิธี การตอบรับการกล่าวคำชมเชยระหว่างเจ้าของภาษาอังกฤษกับชาวจีนจำแนกตามหัวข้อ ( หน้าตา การแสดงความเป็นเจ้าของและความสามารถ ) และเหตุผลทางสังคม ( ฐานะทางสังคม)ว่ามีผลกระทบต่อการกล่าวคำชมเชย และตอบรับการกล่าวคำชมเชยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีนอย่างละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลที่ได้นำมาเข้ารหัสตามประเภทของวัจนกรรมตามทฤษฎีการกล่าวคำชมเชยและทฤษฎีการตอบรับการกล่าวคำชมเชย หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และไควสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. เจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีนใช้การกล่าวคำชมเชยมากที่สุด คือ การให้คำชมเชยแบบตรง ไม่ให้คำชมเชย และการให้คำชมเชยแบบใช้คำถาม ตามลำดับ 2.เจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีนให้การตอบรับการกล่าวคำชมเชยมากที่สุด คือ ยอมรับแบบตรง ปฏิเสธแบบอ้อม และยอมรับแบบอ้อม ตามลำดับ 3.เจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีน ใช้กลวิธีการกล่าวคำชมเชยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ในหัวข้อการแสดงความเป็นเจ้าของ ส่วนด้านหัวข้ออื่นๆและฐานะทางสังคมไม่แตกต่างกัน 4.เจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีนมีการตอบรับการกล่าวคำชมเชยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามหัวข้อและฐานะทางสังคม ผลการศึกษาในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาการกล่าวคำชมเชยการตอบรับการกล่าวคำชมเชยของเจ้าของภาษาอังกฤษและชาวจีนเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสัมพันภาพในระหว่างการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ การค้าและการศึกษาต่อไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title การศึกษาข้ามวัฒนธรรมวัจนกรรมการกล่าวคำชมเชยและการตอบรับ การกล่าวคำชมเชยระหว่างภาษาจีกับภาษาอังกฤษ en_US
dc.title.alternative A CROSS-CULTURAL STUDY OF COMPLIMENT AND COMPLIMENT RESPONSE SPEECH ACTS IN ENGLISH AND CHINESE en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics