ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.author พัชรา, แย้มสำราญ
dc.date.accessioned 2020-07-20T08:16:59Z
dc.date.available 2020-07-20T08:16:59Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2560); หน้า 103-115 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6668
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ​1)​ พัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​ 21​ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​2)​ ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​21​ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​3)​ ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​21​ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​และ​4)​ ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูที่ได้รับความรู้และการฝึกปฏิบัติตามกระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น​ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย​ครู​ จําานวน​25​ คน​ และนักเรียน​จําานวน​55​ คน​ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย​ได้แก่​แบบทดสอบ​แบบประเมิน​และแบบสอบถามความคิดเห็น​วิเคราะห์ข้อมูลโดย​ค่าร้อยละ​ค่าเฉลี่ย​()​ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน​(S.D.)​และ​t-test​(dependent)​ผลการวิจัย​พบว่า​1.​ กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​21​ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​ พัฒนาขึ้นตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ​(Professional​Learning​Community​:​ PLC)​ซึ่งเป็นการร่วมมือรวมพลังของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องโดยการพึ่งพากันและกัน​เรียกว่า​AEW​Model​ประกอบด้วย​หน่วยการเรียนรู้​4​ หน่วย​ได้แก่​หน่วยที่​1​ การเสริมสร้างความรู้​ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนว​ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​21​ หน่วยที่​2​ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่​21​ หน่วยที่​3​ การจัดกิจกรรมแนะแนวตามแผนที่ออกแบบ​และ​หน่วยที่​4​ การประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้​แต่ละหน่วยประกอบด้วยขั้นตอนการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง​(A:​ Analysis)​การเสริมพลังอําานาจ​(E:​ Empowerment)​และการประเมินคุณค่า​(W:​Worth​Assessment)​ที่เชื่อมโยงกันโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้​การวิพากษ์วิจารณ์​การสะท้อนผลการปฏิบัติการร่วมมือรวมพลัง​และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้​​2.​ หลังการทดลองใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครู​พบว่า​ความรู้และความสามารถในการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูสูงกว่าก่อนการทดลอง​อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ​0.01 3.​ความคิดเห็นของครูที่มีต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน​​4.​ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูที่ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติ​ตามกระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้าน en_US
dc.description.abstract The​purposes​of​ this​research​were​1)​ to​ develop​a​ paradigm​for​ teacher​professional​development​to​ enhance​21st​Century​Life​and​Career​Skills​of​ junior​high​school​students,​2)​ to​ examine​evidentially​effectiveness​of​ the​paradigm,​3)​ to​ study​teachers’​opinions​toward​the​paradigm​and​4)​ to​ study​students’​opinions​toward​teachers’guidance​on​ the​paradigm.​The​sample​was​25​ purposive​sample​group​of​ teachers​who’ve​been​working​as​ a​ guidance​teacher​and​55​ students​in​ Educational​Opportunity​Expansion​Schools​of​ Phetchaburi​Primary​Educational​Service​Area​Office​2.The​research​instruments​included​Achievement​Test,​Questionnaire​and​Opinion​Survey.​The​data​were​analyzed​by​ percentage,​mean​(),​ standard​deviation​(S.D.)​and​t-test​dependent.​​The​research​results​were​as​follows:​​1.​ The​paradigm​for​ teacher​professional​development​to​ enhance​21st​Century​Life​and​Career​Skills​was​developed​through​Professional​Learning​Community​:​ PLC​which​is​ the​continuous​improvement​cooperation​of​ teacher​and​education​officer​called​AEW​Model.​The​Model​consisted​of​ 4​ learning​units.​The​first​one​is​to​ Enhance​the​knowledge​about​guidance​activities​and​Life​and​Career​Skills​for​ 21st​Century,​the​second​is​ to​ Design​guidance​activities​to​ promote​students’​Life​and​Career​Skills​for​ 21st​Century,​the​third​is​ to​Implement​guidance​activities​and​the​last​one​is​ Formative​Assessment.​Each​unit​included​3​ steps​;​ Analysis,​Empowerment​and​Worth​Assessment​which​linked​each​other​through​discussion,​criticizing,​cooperation​and​enhancement​learning​procedure.​​​​​​2.​ The​results​of​ the​Paradigm​for​ Teacher​Professional​Development​to​ enhance​21st​Century​Life​and​Career​Skills​of​ Junior​High​School​Students​implementation​revealed​that​teachers’​scores​were​significantly​increased​at​.01​level​and​skills​were​higher​than​before.​​3.​ The​Teachers’​opinions​toward​the​Paradigm​for​ Teacher​Professional​Development​were​at​ the​high​agreement​level.​​​​​​​​​​4.​ The​students’​opinions​toward​Life​and​Career​Skills​promotion​guidance​activity​of​ teacher​who’ve​learned​and​practiced​through​the​Paradigm​for​ Teacher​Professional​Development​were​at​ the​highest​agree-ment​level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น en_US
dc.title กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น en_US
dc.title.alternative A​Paradigm​for​Teacher​Professional​Development​to​enhance21st​Century​Life​and​Career​Skills​of​Junior​High​School​Students en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics