ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stringer

Show simple item record

dc.contributor.author ศรัญญา, คงพะเนา
dc.contributor.author ธัญญารัศม์, ชิดไธสง
dc.date.accessioned 2020-07-20T07:47:25Z
dc.date.available 2020-07-20T07:47:25Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2561); หน้า 119-133 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6641
dc.description.abstract การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสําาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Stringer มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสําาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารญาณสําาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบุญวัฒนา สําานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์ เทคนิคการสนทนากลุ่ม ดําาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1. แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะ สิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด คัดเลือกบทอ่านแต่ละประเภท เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทความต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย จัดเนื้อหาตามความสนใจของนักเรียน มีการจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Stringer เริ่มจาก1) การพินิจพิเคราะห์ (Look) 2) การคิดวิเคราะห์ (Think) และ 3) การปฏิบัติการ (Act)2. ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1 นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.98 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 76.14 นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.34 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.91 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กําหนด 2.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ 1. อยู่บนฐานเดียวกันจะทําให้ได้คําตอบร่วมกัน 2. ขจัดความกลัว จะพบความสําเร็จ 3. รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ก้าวด้วยตนเอง และ 4. ทวนซ้ำ ย้ำคิด en_US
dc.description.abstract This paper aimed 1) to examine the development of critical reading ability in English for Mattayomsuksa 3 students, 2) to study the outcome of the development, and 3) to summarize the lessons based on the teacher’s performance. The sample group for this research consisted of Mattayomsuksa 3/5 students who studied in the first semester of academic year 2017 at Boonwat-tana School, Secondary Educational Service Area Office 31. The sample group was selected by using purposive sampling method. The research tools included lesson plans, test on the ability in critical reading skills in English, satisfaction questionnaire, interview and group discussion. The data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. Statistics used in data analysis included percentage, mean average and standard deviation.Results revealed that:1. The ways to develop student’s critical reading skill in English were to conduct instructional activities that emphasize on the students’ ability to analyze and segregate what is correct and incorrect, reading materials should be selected from magazines, newspapers and articles, various activities and contents should be organized based on students’ interests and students should be divided into groups to assist each other. Moreover, the action research based on Stringer’s concept was implemented which included 1) Look, 2) Think and 3) Act.2. The results of the development of critical reading ability in English in students were as follows: 2.1 After the class, the students received an average score in critical reading ability in English of 38.98 out of a total of 50 which equated to 76.14 percent. It can be seen that students’ scores progressively increased at an average of 13.34 or 26.91 percent which met the given criteria. 2.2 Students were satisfied with activities on the development of their critical English reading skills in Mattayomsuksa 3, at the highest level in overall aspect.3. The summarization of the lessons based on teacher’s performance to develop student’s critical English reading skills in Mattayomsuksa 3 were 1) On the same base we will gain the answer together, 2) Eliminate the fear for success, 3) Self-Assessment for Self-Regulation, and 4) Reflection and Rethinking . en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stringer en_US
dc.title การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stringer en_US
dc.title.alternative The Development of Critical Reading Ability in English in Mattayomsuksa 3 Students Based on Stringer’s Action Research en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics