ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Show simple item record

dc.contributor.author เมธาสิทธิ์, ธัญรัตนศรีสกุล
dc.date.accessioned 2020-07-20T07:28:27Z
dc.date.available 2020-07-20T07:28:27Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 14 แบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2562); หน้า 100 - 111 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6623
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองจากแนวคิดของกูกิลเอลมิโน ซึ่งได้จำแนกความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองไว้จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ 2) มโนคติของตนในด้านการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ความคิดริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้ 4) ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง 5) ความรักในการเรียนรู้ 6) ความคิดสร้างสรรค์ 7) การมองอนาคตในแง่ดี และ 8) ความสามารถในการใช้ทักษะการศึกษาหาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 314 คน ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม คัดเลือกจากประชากรด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองตามแนวคิดของกูกิลเอลมิโน จำนวน 58 ข้อคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของกูกิลเอลมิโนที่นำมาตรวจสอบมีความตรงเชิงทฤษฎีและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square เท่ากับ 5.20 (df = 10, p-value = 0.88) ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.01 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และพบว่าองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ และการมองอนาคตในแง่ดีตามลำดับ en_US
dc.description.abstract The purpose of this research was to examine theoretical validity of self-directed learning readiness scale (SDLRS) according to Guglielmino’s theory, in which 8 self-directed learning readiness indicators were identified which included 1) openness to learning opportunities, 2) self-concept as an effective learner, 3) initiative and independence in learning, 4) responsibility for one’s own learning, 5) love of learning, 6) creativity, 7) positive orientation of the future; and 8) ability to use basic study skills. The samples were 314 Mathayomsuksa 6 students of Rachineeburana School, Nakhon Pathom province selected by simple random sampling. The research instrument was a set of 58-items on SDLRS. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and the first order of confirmatory factors analysis. The result of this research revealed that self-directed learning readiness model according to Guglielmino had theoretical validity and was consistent with empirical data with 5.20 for Chi-Square test (df = 10, p-value = 0.88), 0.01 for standardized root mean square residual (SRMR), 0.00 for root mean square error of approximation (RMSEA), 1.00 for goodness of fit index (GFI), and 0.99 for ad-justed goodness of fit index (AGFI). The 3 most important weight factors were responsibility for one’s own learning followed by openness to learning opportunities and positive orientation of the future, respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 en_US
dc.title การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 en_US
dc.title.alternative Theoretical Validity Test Of Self-Directed Learning Readiness Scale For Mathayomsuksa 6 Students en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics