ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ดิน หิน แร่ และธรณีกาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐพร, ฐิติมโนวงศ์
dc.date.accessioned 2020-07-20T07:18:03Z
dc.date.available 2020-07-20T07:18:03Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2562); หน้า 91-99 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6613
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังและก่อนจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จำนวน 24 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งสร้างขึ้นจากแนวคิดของเอนนิส ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 25 ข้อ ได้แก่ ความสามารถในการระบุปัญหา ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการสังเกต ความสามารถในการอุปนัย ความสามารถในการนิรนัย และความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.04 (S.D.= 2.25 ) ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.67 (S.D.= 1.43) และเมื่อพิจารณาการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยของการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านความสามารถในการระบุปัญหาสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 75.0) และด้านความสามารถในการนิรนัย ต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 54.0) เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ t-test dependent โดยรวมและรายด้าน ผู้เรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstract The purpose of this research was to compare critical thinking after and before learning by us-ing Flipped classroom approach of Mathayomsuksa 6 (grade 12) students of Princess Chulabhorn’s College Science School, Buriram. The samples used in the research were 24 Mattayomsuksa 6/6 students of Princess Chulabhorn’s College Science School, Buriram which were selected from clus-ter sampling. The research instruments were 9 lesson plans based on Flipped classroom approach on Soil, Rock, Mineral and Geochemistry, a 25-item critical thinking test based on 5 aspects of En-nis’s critical thinking which comprised: The ability to identify problems, ability to consider data reliability and observation, inductive ability, deductive ability and the ability to identify basic en-gagement. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation. The t-test dependent was employed to test the hypothesis. The research revealed that the critical thinking of the students after studying was 17.04 (S.D. = 2.25) and before studying was 11.67 (SD = 1.43). When considered critical thinking in each aspect, it was found that the average of critical thinking in problem solving ability was the highest (75%) and the lowest was deductive ability (54%). Critical thinking of the students after learning was statistically higher than before learning at the significance level of .05. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ดิน หิน แร่ และธรณีกาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ en_US
dc.title การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ดิน หิน แร่ และธรณีกาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Learning management through Flipped classroom approach to promote critical thinking entitle: Soil, Rock, Mineral and Geochemis-try of grade 12 students Princess Chulabhorn’s College Science School, Buriram en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics