ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการ ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author กฤติเดช, สุขสาร
dc.contributor.author จิณณวัตร, ปะโคทัง
dc.contributor.author อารี, หลวงนา
dc.date.accessioned 2020-07-14T03:32:36Z
dc.date.available 2020-07-14T03:32:36Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 9 ฉบับ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2557); หน้า 136 - 143 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6576
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการบริหารโดยใข้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหาร โดยใช้เครือข่าย เพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ 4) นำเสนอรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารโดยใช้เครือข่าย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ รองผู้อำนวยการฝ่าย วิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระ รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่าย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน เครื่องมีอที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน ความสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ชองรูปแ บบ ผู้ให ้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใข้รวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความเป็น ไปได้ ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 การนำเสนอรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานของการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา มี 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานชอง การบริหารโดยใช้เครือข่าย มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) การมีสมาชิกเครือข่าย 2) คณะกรรมการเครือข่าย 3) การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) การมืผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน 5) การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย และ 6) การปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นที่ 2 ขอบข่ายงาน วิชาการของการบริหารโดยใช้เครือข่าย มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมด้านวิชาการชองเครือข่าย 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของเครือข่าย 3) การวัดผลและประเมินผลในเครือข่าย 4) การนิเทศ ติดตาม และพัฒนาระบบประกันคุณภาพของเครือข่าย และ 5) การจัด สื่อนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่าย เพื่อพัฒนางานงานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ห ลักก ารและกรอบแนวคิด 2) วิสัยทัศน์ 3) วัตถุประสงค์ 4) กลยุทธ์ มี 4 กลยุทธ์ คือ (1) การบริหารด้วยระบบ (2) การบริหารด้วยพันธสัญญา (3) การบริหารอย่างมียุทธศาสตร์ และ (4) การบริหารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) การประเมินผลการ ใช้รูปแบบ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ มี 4 เงื่อน ไข คือ (1) ครูและบุคลากร (2) ผู้บริหารสถานศึกษา (3)โรงเรียนเครือข่าย และ (4) หน่วยงานต้น สังกัด 3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อ พัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 4. ผลการนำเสนอรูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่าย เพื่อพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาผู้ทรง คุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบที่นำเสนอโดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การจัดเรียงกลยุทธ์ควรจัดเรียงตามสำดับความสำคัญ คือ 1) การบริหารด้วยระบบเครือข่าย 2) การบริหารด้วยพันธสัญญา 3) การบริหารอย่างมียุทธศาสตร์ และ 4) การบริหารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร en_US
dc.description.abstract The research aimed to 1) study background information of the administration that used networks for developing academics in secondary schools, 2) construct the administration model for developing academics, 3) assess the constructed model, and 4) present the constructed model. The study was carried out in 4 phases. Phase 1: a study of background information of the administration using networks for developing academics in secondary schools was done by using 5 experts, school directors or director assistants responsible for school academics, and subject-strand heads totaling 30 subjects. The research tool consisted of 2 versions of interview. Content analysis was employed in the data analysis. Phase 2: a construction of the administration model was operated and 13 experts were employed, and a congruent evaluation form was used. Means and standard deviation were used in the data analysis. Phase 3: an evaluation of possibility, suitability, and utility of the constructed model was done by 17 experts by using an assessment form. Means and standard deviation were used in the data analysis. Phase 4: a presentation of the constructed model to 17 experts, and a record of the focus-group discussion was employed. Content analysis was employed in the data analysis. The research findings were as follows: 1. The background information showed 2 main aspects including 1) basic components of the administration containing 6 sub-components namely (1) network members, (2) network committee, (3) shared vision, (4) shared benefits and interests, (5) members’ participation, and (6) sharing experiences and 2) scope of academics involving 5 subcomponents namely (1) curriculum development and academic promotion, (2) instruction, (3) measurement and evaluation, (4) supervision and development of quality assurance system, and (5) innovation and learning source management. 2. The administration model for developing academics yielded 6 components: 1) principles and conceptual framework; 2) vision; 3) objectives; 4) strategies covering 4 strategies: (1) administration through information technology and communication, (2) administration through strategies, (3) administration through contracts, and (4) administration through networks; 5) model assessment; 6) success conditions involving 4 conditions: (1) teachers and staff, (2) administrators, (3) school networks, and (4) original affiliation. 3.The assessment of the constructed model resulted in a higher level of the overall possibility, suitability, and utility. 4. The presentation of the constructed model to 17 experts showed an agreement of the experts on the model and advice was given in terms of the organization of strategy priority as follows: 1) administration through networks, 2) administration through co n tracts, 3) administration through strategies, and 4) administration through information technology and communication en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการ ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา en_US
dc.title รูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายเพื่อพัฒนางานวิชาการ ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา en_US
dc.title.alternative The Administration model Using networks For Developing Academics in Secondary Schools en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics