ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิติวัชร ถ้วยงาม en_US
dc.contributor.author ตุลยา, ธีรวิโรจน์
dc.date.accessioned 2020-07-14T02:57:24Z
dc.date.available 2020-07-14T02:57:24Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6551
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และระดับชั้นที่สอน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 254 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบชั้นภูมิตามระดับชั้นที่สอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้ และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามระดับชั้นที่สอน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) ปรับหลักสูตรรายวิชาให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา 2) ศึกษาผู้เรียนรายบุคคลเพื่อนำมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน 3) มีการจัดแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภายในและนอกห้องเรียน 4) วางแผนผลิตสื่อ จัดทำตามความเหมาะสม ได้สื่อที่หลากหลาย 5) สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ en_US
dc.description.abstract This study aimed 1) to study state of teachers development in curriculum and learning management in private schools under Buriram Provincial Education Office, 2) to compare teachers’ opinion toward teachers development in curriculum and learning management in private school under Buriram Provincial Education Office, classified by experience and teaching level; and 3) to study guidelines for developing teachers in curriculum and learning management in private schools under Buriram Provincial Education Office. Two phases were implemented in this study. Phase 1 was to study and compare state of teachers development in curriculum and learning management in which the sample consisted of 254 teachers, selected by stratified sampling. Questionnaire was used to collect the data and the data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested by using t-test and the analysis of variance in term of one-way ANOVA. Phase 2 was to study guidelines for developing teachers in curriculum and learning management. Five experts selected by purposive sampling were interviewed by using interview form. The data were analyzed by using content analysis. The findings were as follows : 1. State of teacher development in curriculum and learning management in private schools under Buriram Provincial Education Office was, in overall and each aspect, at a high level. The aspect with the highest average was learning assessment and evaluation while the application and development of technological innovation media for learning management was at the lowest level. 2. Comparison of teachers’ opinion toward teachers development in curriculum and learning management classified by experience, in overall aspect, was not differences. When considering in each aspect, it was found that learning assessment and evaluation was significantly different at .05, while other aspect were not different. In addition, no difference was found when comparing teachers’ opinion according to teaching level, in each and overall aspect. 3. The guidelines for developing teachers in curriculum and learning management according to experts’ opinion revealed that 1) curriculum should be adjusted to the context of the school, 2) data of individual student should be studied in order to plan challenging learning management, 3) learning resources should be provided inside and outside the classroom, 4) instructional media should be vary and appropriately created and 5) assessment and evaluation should be constructed based on the learning standards. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative State and Guidelines for Developing Teachers in Curriculum and Learning Management in Private Schools under Buriram Provincial Education Office en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics