ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor นวมินทร์ ประชานันท์ en_US
dc.contributor.author เทพรัตน์, ศรีคราม
dc.date.accessioned 2020-07-14T02:50:12Z
dc.date.available 2020-07-14T02:50:12Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6546
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ข้าราชการครู จำนวน 346 คน ได้มาจากการได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซีและมอร์แกนแล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่ายตามลำดับ เครื่องมือที่ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบคำถามปลายเปิด โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ เมื่อพบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรให้โอกาสทำงานที่ท้าทายความสามารถของบุคลากร การสนับสนุนให้บุคลากรสามารถนำตนเองได้ของผู้บริหารสถานศึกษา และการให้กำลังใจบุคลากรในการทำงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ en_US
dc.description.abstract The purposes of this research aimed to 1) study the super leadership level of educational administrators as perceived by teachers under the Secondary Educational Service Area Office 32 and 2) compare the super leadership level of educational administrators as perceived by teachers under the Secondary Educational Service Area Office 32, classified by gender, educational background, work experiences, and school sizes. The samples were 346 teachers, selected by using the table of Krejcie and Morgan, stratified random sampling, and simple random sampling, respectively. The research instrument was a three-part questionnaire including checklist, five-rating scale and open-ended question with the reliability of 0.92. The statistics used to analyze the collected data were percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by independent samples t-test and F-test. If the significant differences were found, Scheffe' method was used with the statistical significant set at .05 level. The findings revealed that: 1. The super leadership level of educational administrators as perceived by teachers under the Secondary Educational Service Area Office 32 both in overall and each aspect were at a high level. 2. There were no differences of the super leadership level of educational administrators as perceived by teachers under the Secondary Educational Service Area Office 32, classified by gender, educational background, and work experiences both in overall and each aspect. When classified by school sizes, it showed statistical significant difference at .05 level in the aspect of the role model of the personnel to be leaders themselves. In contrast, the rest aspects were not different. 3. The suggestions for super leadership development of educational administrators were that the administrators should give the opportunity to work that challenges the ability of personnel, support for self-directed personnel of educational administrators, and give the moral support to encourage the personnel to work regularly. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative The Super Leadership of Educational Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics