ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิติวัชร ถ้วยงาม en_US
dc.contributor.author สุธรรม, ตรีวิเศษ
dc.date.accessioned 2020-07-14T02:46:31Z
dc.date.available 2020-07-14T02:46:31Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6544
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ที่มีต่อสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา ด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน และครู จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 280 คน ซึ่งได้จากตารางการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ โดยกำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่มีจำนวนมากที่สุดได้แก่ สถานศึกษาควรมีคู่มือและเครื่องมือในการตรวจสอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ชัดเจน มีการกำหนดทิศทางหรือแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างชัดเจนและศึกษานิเทศก์ควรมีส่วนร่วมในการให้ความรู้ ความเข้าใจและช่วยเหลือโรงเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to study and compare the opinions of the school administrators and teachers towards the operational states of internal quality assurance in schools under Surin Primary Educational Service Area Office 2 in 3 aspects: educational quality controlling, educational quality checking and educational quality evaluation, classified by status and school sizes. The samples were 140 school administrators and 140 teachers in a total of 280 people, selected by using the table of Krejcie & Morgan, and stratified random sampling. The research instrument was a questionnaire with its reliability at 0.91. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by independent sample t-test, one - way analysis of variance, and the comparison between each pair of samples was done by Scheffé method. The significant difference was set at the level of .05. The results of this study were as follows: 1. The states of internal quality assurance in schools according to the opinions of the school administrators and teachers both as a whole and each aspect was at a high level. The educational quality control was reported as the highest mean score while the educational quality checking was reported as the lowest mean score. 2. The comparison of the states of internal quality assurance in schools according to the opinions of school administrators and teachers, classified by status as a whole was not different but educational quality controlling aspect was statistically different at significant level of .01. 3. The comparison of the states of internal quality assurance in schools according to the opinions of school administrators and teachers, classified by school sizes as a whole was not different but educational quality controlling aspect was statistically different at significant level of .01. 4. The opinions and suggestions about the states of internal quality assurance in schools according to the opinions of the school administrators and teachers with the highest percentages were that schools should have manuals and tools to monitor internal quality assurance operations, and a clear direction or guideline for internal quality assurance in schools. Moreover, the supervisors should be involved in providing knowledge, understanding and helping schools in conducting internal quality assurance continually. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2 en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative The State of Internal Quality Assurance in Schools under Surin Primary Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics