ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author วรากร, เสนามาตย์
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:55:04Z
dc.date.available 2017-09-02T04:55:04Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/625
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน และ2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามสภาพตำแหน่งและวุฒิการศึกษากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 66 คน หัวหน้างานวิชาการจำนวน 66 คนและครูผู้สอนจำนวน 302 คน โดยใช้ตารางสำเร็จของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t-test และ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน พบว่าโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถาบันศึกษามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุดส่วนด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาและด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้บริหารควรมีการนิเทศ กำกับ และติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รองลงมา คือ สถานศึกษาควรดำเนินกิจกรรม และโครงการให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา " th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative The Implementation of Internal Quality Assurance at Educational Opportunity - Extended Schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics