ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฏฐวัต, โชคสุทธิสวัสดิ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:54:55Z
dc.date.available 2017-09-02T04:54:55Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/624
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามเพศ และสถานภาพตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าที่ตอบแบบสอบถาม ได้จากการสุ่มจากประชากรได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คนแล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามสถานภาพตำแหน่งให้กระจายไปตามบุคลากรสายต่างๆ ตามสัดส่วน กลุ่มตัวอย่าที่ใช้เทคนิคแบบสัมภาษณ์ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยการกำหนดเป็นโควตา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.7261 ใช้การวิเคราะห์โดยการอุปมาน ส่วนข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมุติฐาน โดยการวิเคราะห์ค่า T-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ล่ะด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดค่าสถิติที่มีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกันผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำแนกตามสภาพตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกัน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ พบว่าการบิหารงานบุคคลของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ แต่ละด้านมีดังนี้ 1) ด้านการให้บุคลลากรพ้นจากงาน มีการดำเนินการตามระเบียบของทางราชการหรือทางมหาวิทยาลัย ซึ่งการให้บุคลากรพ้นจากงานแต่ละกรณี ทั้งการเกษียณอายุ การลาออก การออกก่อนกำหนด หรือการออกเพราะประพฤติผิดอาญาหรือวินัยอย่างร้ายแรง 2) ด้านการบำรุงรักษาบุคลากร มีการเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างเพื่อนร่วมงานทุกระดับ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกสายในทุก 6 เดือนและ 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการส่งเสริมสนับสนุนเพิ่มทักษะ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน โดยมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรทุกคน th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Personnel Administration of Buriram Rajabhat University en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics