ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร

Show simple item record

dc.contributor.author ศศราภรณ์, เหมือนสิงห์
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:47:22Z
dc.date.available 2017-09-02T04:47:22Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/614
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน 3)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 234 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาระดับปฐมวัย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.67 – 1.00 ค่าอำนวยจำแนกแบบสอบถามเท่ากับ 0.908 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.910 การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีแบบสอบถามใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาการจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน รองลงมา ได้แก่ ด้านวิชาการ 2.แนวทางจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์มีดังนี้ 2.1 ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแนวทางแก้ไขดังนี้จัดฝึกอบรมให้ความรู้กับครู ผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับการจัดทำแผนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบอาหาร และกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบอาหารว่าต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ 2.2 ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยแนวทางแก้ไขดังนี้ ผู้บริหารต้องเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กซึ่งการเล่นก็เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กจักหางบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับเด็ก ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.3 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรแนวทางแก้ไขดังนี้ จัดให้มีกิจกรรมการศึกษาดูงานกับหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน หรือจัดให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนด 2.4 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชนแนวทางแก้ไขดังนี้ ประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครองและชุมชนทุกปีการศึกษา การเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนให้ความรู้แก่เด็ก ตลอดจนการส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้าร่วมกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมในชุชนอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ " th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร en_US
dc.title.alternative Problems and Guidelines to Manage Early Childhood Education of Child Development Centers under Buriram Provincial Administration Organizations based on Administrators’ Opinions en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics