ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคล ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

Show simple item record

dc.contributor.author ชัยวงศ์, ณรงค์กร
dc.contributor.author บนขุนทด, ปัณณทัต
dc.date.accessioned 2020-03-23T17:55:40Z
dc.date.available 2020-03-23T17:55:40Z
dc.date.issued 2019-06-01
dc.identifier.citation วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2562 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6099
dc.description.abstract การขาดการรับรู้ความเสี่ยงตามความเชื่อด้านสุขภาพ ทำให้บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดความใส่ใจดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยครั้งนี้ออกแบบเพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับโอกาสเสี่ยงปานกลางถึงระดับสูงตามแนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 348 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นและคำนวณตามสัดส่วนประชากรของแต่ละชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพและแรงจูงใจด้านสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามดังกล่าวเท่ากับ .89 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ 56.8 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.52, SD = .83) และปัจจัยที่สามารถทeนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ แรงจูงใจด้านสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรงของโรคและการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในบุคคลกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนต้องสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรค และลดอุปสรรคที่ขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค en_US
dc.description.abstract Lack of perceived risk due to individual health beliefs leads people with an increased risk of coronary heart disease (CHD) to disregard self-care behaviors to prevent CHD. The purpose of this study was to investigate CHD prevention behaviors and factors predicting CHD prevention behaviors among persons with an increased risk of CHD. The study sample consisted of 348 persons with moderate or high risk of CHD according to CHD risk stratification criteria. The sample was recruited from patients who received care at NCD clinic of health promoting district hospital in Muang district of Buriram province. The proportionate stratified random sampling method was used for recruitment. Data was collected from June to August 2017. Research instruments included general information form, perceived health status and health motivation questionnaire, and CHD prevention behavior questionnaire. The reliability coefficients of perceived health status and CHD prevention behavior questionnaires were .89 and .79, respectively. Data was analyzed using descriptive statistics and multiple regressions. Results showed that majority of the sample was 60 years and older and had the Body Mass Index (BMI) 56.8% over the normal range. The CHD prevention behaviors among this sample was at moderate level ( = 2.52, SD = .83). Factors that predicted CHD prevention behaviors among people with an increased risk of CHD included health motivation, perceived severity of CHD, and perceived barriers. All three factors significantly predicted 42% of CHD prevention behaviors (p < .01). In conclusion, this study suggested that CHD prevention behaviors should be promoted among this population. Emphasis should be made on strategies to improve health motivation to perform CHD prevention behaviors, increase perceived CHD severity, and reduce perceived barriers of CHD prevention behaviors. en_US
dc.description.sponsorship Western University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject พฤติกรรมการป้องกันโรค โรคหลอดเลือดหัวใจ ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงจูงใจด้านสุขภาพ en_US
dc.subject coronary heart disease, prevention behaviors, health beliefs, health motivation en_US
dc.title ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคล ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ en_US
dc.title.alternative Predicting Factors Preventive Behaviors for Coronary Heart Disease among Persons at Risk to Disease en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor narongkorn_chai54@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics