ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author สิริปัญญ์, ศรนอก
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:40:30Z
dc.date.available 2017-09-02T04:40:30Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/599
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งวิทยฐานะในกรอบของเนื้อหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน และด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 306 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิดมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 1.974-11.938 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9462 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านความรับผิดชอบ 2.การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนก ตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการยอมรับนับถือ และด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 3.การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งวิทยฐานะ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ที่มีจำนวนมากที่สุดในแต่ละด้านได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ คือ ควรให้ครูปฏิบัติงานสอนให้ตรงกับสาขาที่เรียนมา ด้านความรับผิดชอบ คือ ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาโดยให้ความสำคัญในการมอบหมายงานให้ชัดเจนให้ความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันตรงกับความถนัดและความสามารถในสาขาที่เรียนมา ด้านการยอมรับนับถือ คือ การพิจารณาความดีความชอบควรใช้หลักคุณธรรม ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คือ ควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้เลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นและได้รับเงินวิทยฐานะทันทีที่ได้รับอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะ และด้านความสำเร็จในหน้าที่การงาน คือ ครูควรมีความรู้ความสามรถมีปฎิภาณไหวพริบสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ " th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ en_US
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Motives for Working of Teachers in Educational Extended Opportunity School under Buriram Primary Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics