ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.author กำจัด, สุขประเสริฐ
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:19:24Z
dc.date.available 2017-09-02T04:19:24Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/544
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 และ 2)เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 จำแนกตาม ประเภทของสถานศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะคือ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .9668 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ เชฟเฟ่ (Scheffe’ Method) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ปัญหางานวิชากานมี 4 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา โดยรวมมีสภาพปัญหาในการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลางและมีความต้องการอย่าในระดับมาก 2.เปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 2.1ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีประเภทแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2 ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีประเภทแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการบริหารงานวิชาการโดยรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการจัดการเรียนรู้มีความต้องการในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.4 ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการบริหารงานวิชาการโดยรวมมีความต้องการในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศการศึกษามีความต้องการในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 คือผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำหลักสูตรแก่บุคคลากรในสถานศึกษามีการนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การบริหารงานวิชาการที่ดีและมีประสิทธิภาพ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี en_US
dc.title สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative PROBLEMS AND NEEDS IN ACADEMIC MANAGEMENT OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE4 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics