ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ

Show simple item record

dc.contributor.author ยงยุทธ, บรรจง
dc.date.accessioned 2019-09-04T03:08:30Z
dc.date.available 2019-09-04T03:08:30Z
dc.date.issued 2560-12
dc.identifier.citation วารสารวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560 en_US
dc.identifier.issn 1906 - 7062
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5409
dc.description.abstract ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่ากลไกการอภิบาล ระบบบริการปฐมภูมิและระบบธรรมาภิบาลยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนยังไม่เข้าใจและขาดความ เชื่อมั่นต่อระบบบริการปฐมภูมิ บุคลากรไม่เพียงพอและศักยภาพของบุคลากรยังมีจำากัดในการจัดการ กับปัจจัยด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ทำาให้การเจ็บป่วยของประชาชนโดยรวมไม่ลดลง เจ็บป่วยด้วย โรคที่สามารถป้องกันได้ ประชาชนไม่พึ่งตนเองด้านสุขภาพ หวังพึ่งเจ้าหน้าที่และระบบบริการสุขภาพ ขาดความใส่ใจหรือไม่ตระหนักเรื่องสุขภาพในวิถีการดำาเนินชีวิต ดังนั้นการปฏิรูปการสาธารณสุขของ ประเทศไทยในระยะ 20 ปี ได้ให้ความสำาคัญกับการอภิบาลระบบบริการปฐมภูมิให้ยั่งยืน ลดความ เหลื่อมลำ้า จัดระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุม เป็นธรรม ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก เน้นสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพระดับอำาเภอ (District Health System) เป็นการบูรณาการการ ดำาเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ อาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพที่เรียกว่า “ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team)” ในการแก้ไข้ปัญหาสุขภาพ โดยการจัดการความรู้แบบอิงบริบทของแต่ละพื้นที่ ระบบสุขภาพระดับอำาเภอ เน้นการทำางานเป็นทีมของสหวิชาชีพในรูปแบบของทีมหมอครอบครัว พยาบาลวิชาชีพ เป็นส่วนหนึ่งของทีมหมอครอบครัว ที่มีบทบาทสำาคัญในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนของ การดำาเนินงาน สามารถเชื่อมโยงการดูแลที่มีมิติทางจิตใจและจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมให้เกิด กระบวนการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เชื่อมประสานการดำาเนินงานในพื้นที่และสถานบริการสุขภาพได้เป็น อย่างดี ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงจำาเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้มีความสอดคล้องกับการ ดำาเนินงานของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการการดำาเนินงานระบบสุขภาพระดับอำาเภอ ทีมหมอครอบครัว อีกทั้งต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความพร้อมในการดำาเนินงานและสามารถนำามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งในสถานบริการและ ชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับทีมสหวิชาชีพได้และตอบสนองต่อการดำาเนินงานด้านสุขภาพ ของประชาชน ครอบครัว ชุมชน ได้ตลอดระยะเวลา เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ พึ่ง ตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ส่งผลให้สถานะสุขภาพของประชาชนในอำาเภอดีขึ้น en_US
dc.description.abstract Thailand has developed the Primary Care System continuously, but it is still found that the mechanism of governance and Primary Care System, particularly the good governance system is not clear yet, as a result, the people still do not understand and are not confident of the Primary Care System. The inadequate personnel and their limited potentials dealing with changing health factors have resulted in the overall increasing numbers of sickness, and people are sick of the preventable diseases, but the people do not rely themselves on their health. They hope to rely on the health officials and service systems. They do not pay attention or realize on their health. They are not aware of their ways of life. Thus, the reform of public health in Thailand for the past 20 years has given significance to the sustainable governance and Primary Care System, so as to help reduce the social gaps or differences, and also to cover all the management systems of health services which are fair and effective. The approach strategy of Thai health promotion aims at strengthening the District Health System as well as the integration of working on health activities in the area in cooperation with members or partners of heath networks in the so-called, “Family Care Team”, so as to help solve health problems by managing the knowledge of context culture in each area. The District Health System stresses on working as a team or “team work” of Multidisciplinary Team in the form of Family Care Team and the registered or professional nurses are also a part of the Family Care Team. This system plays a significant role of all working procedures and operation stages that can link well with mental and spiritual cares. It also encourages and creates the pro-active health promotion process to coordinate work operations well in the area with health care service facilities, as well. Therefore, the professional nurses need to adjust or change their roles and functions or responsibilities in order to be consistent with the work of disciplinary team and members or partners of health networks and to have the better knowledge and understanding about the concepts and principles of work operations with district health system and Family Care Team. Moreover, they must be developed their potentials to be getting ready for work operations and to apply for working in both service facilities and communities. They can exchange knowledge and their learning experience along with the multidisciplinary team and can respond to work on the health of people, families, communities all the time so as to enable people to care of their health and support themselves with the self-reliance schemes and good quality of life. The community should not neglect each other and then will result in further improvement of health status of the people in the district. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ระบบสุขภาพระดับอำเภอ ทีมหมอครอบครัว บทบาทพยาบาลวิชาชีพ en_US
dc.title บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ en_US
dc.title.alternative Role of Professional Nurse in District Health System en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor yongyuth.bj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics