ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ธัญญรัตน์, พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ
dc.date.accessioned 2019-08-09T08:06:35Z
dc.date.available 2019-08-09T08:06:35Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) : หน้า 273-282 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5368
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหา การบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบแบบสอบถามได้จากการสุ่มจากประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้จำนวน 398 คน แล้วทำการสุ่มให้กระจายไปตาม หมู่บ้านต่างๆ ตามสัดส่วน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ด้วยการกำหนดโควตา จำนวน 15 คน การวิเคราะห์แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่น 0.961 ด้วยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างใช้ t-test และ F-test ส่วนข้อมูลที่ได้จากเทคนิคการสัมภาษณ์ใช้ วิเคราะห์แบบอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 5 ด้าน คือ การลดการเกิดขยะ การคัดแยกขยะการนำกลับมาใช้ซํ้า การ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัดที่ปลอดภัย โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบ ว่า การคัดแยกขยะมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนอกนั้นมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยแต่เมื่อเปรียบเทียบแยกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่มีปัญหาความแตกต่างกัน สำหรับผลจากการสัมภาษณ์พบปัญหา ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงน้อย 3 ด้าน คือ ด้านการคัดแยกขยะ ด้านการกำจัดที่ปลอดภัย และด้านการหมุนเวียนกลับ มาใช้ใหม่ส่วนข้อเสนอแนะทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการขยะนั้นทุกฝ่ายต้องสร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเรียน รู้ร่วมกัน สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด ทำให้หมู่บ้านปลอดมลพิษโดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การเกษตร จัดทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เรียนรู้ร่วมกัน จัดตั้งธนาคารขยะและกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนดินเพิ่มให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เพื่อบริหารจัดการ ขยะให้เป็นประโยชน์ และเทศบาลควรมีการจัดเก็บขยะอย่างสมํ่าเสมอ รวมทั้งการจัดหาพื้นที่กำจัดขยะอย่างถูกวิธี en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were: 1) to comparatively study the level of public opinions on problems of garbage management, and 2) to investigate the problems and guidelines for garbage management of local administrative organizations: a case study of Nongteng subdistrict municipality in Krasang district, Buriram Province. The sample consisted of two groups. In the first group, 398 informants who were randomly and proportionally selected from the eligible voters in different villages answered questionnaire. The second group which consisted of 15 people selected via a purposive quota was interviewed. The questionnaire items with reliability of 0.961 were then analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. Moreover, t-test and F-test were used to compare the differences of the data. For analyzing the data obtained from the interview, an inductive approach was utilized. It was found from the study that the problems of all five aspects i.e., reduction of garbage, garbage separation, garbage reuse, garbage recycle, and safe garbage disposal were overall found to be at low level. When considered in each aspect, it was found that garbage separation was at moderate level while other aspects were at low level. Upon comparing the sample’s genders, age and educational level, no differences were found in both overall and each aspect. Having interviewed the sample, three problems of garbage management, namely garbage separation, safe garbage disposal and garbage recycle were found at moderate and low levels. The following suggestions were proposed for solving the management of garbage problems: all sectors should be invited to participate in solving problems and to learn together, awareness of their love of homeland should be raised, their villages should be free from pollution by setting up an agricultural learning center and producing organic fertilizer, and a garbage bank and a group of earthworms raising should be created in all villages in order to manage how to utilize garbage for usage. Moreover, garbage should be regularly collected by the municipalities, and the spaces for the proper garbage disposal should also be provided. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Comparative Study of Problems and Guidelines of Garbage Management for Local Administrative Organizations: A Case Study of Nongteng Subdistrict Municipality, Krasang District, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics