ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ : กรณีศึกษา คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เชาวฤทธิ์, ชาคำไฮ
dc.date.accessioned 2019-08-09T08:04:41Z
dc.date.available 2019-08-09T08:04:41Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย.2560): หน้า 263-274 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5366
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ : กรณีศึกษา คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาเทคนิค การบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคลทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลทางวิชาการ และข้อมูลภาคสนาม การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล ตาม ความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย 1) องค์ประกอบของวงมโหรีพื้นบ้าน อีสานใต้ คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ วงมโหรีได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 ซึ่งมีหัวหน้าวงมโหรีคือนายจันทร์ที คะเล รัมย์ ปัจจุบันมีสมาชิก 10 คน นักดนตรีส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ใน ตรัว ซอเล็ก ซออู้ โทน รำมะนา ฉิ่ง และฉาบ เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่ทำขึ้นเอง ระบบเสียงของตรัว จะตั้งเป็นคู่ 4 ซอ เล็กกับซออู้จะตั้งเสียงคู่ 5 โดยใช้ปี่ในเป็นตัวเทียบเสียง บรรเลงโดยการนั่งบรรเลง บทเพลงที่ใช้บรรเลงมีทั้งหมด 10 เพลง เป็นเพลงบรรเลงทั้งสิ้นไม่มีการขับร้อง ใช้บรรเลงในงานมงคลเท่านั้น การบรรเลงทุกครั้งต้องมีการไหว้ครู โดยจะบรรเลง เพลงครู (โต) เป็นเพลงแรกเสมอ บทบาทหน้าที่ทางสังคมของวงดนตรี คือ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานตรุษสงกรานต์ การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บวชนาคและงานแต่งงาน ตลอดจนเพื่อความบันเทิงและสร้างสามัคคีในหมู่คณะ 2) เทคนิคการบรรเลง ตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ มีการใช้เทคนิคการบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ 4 เทคนิค คือ เทคนิคการพรมสาย เทคนิคการใช้เสียงเลื่อน(เอ้เสียง) เทคนิคการขย่มสาย และเทคนิคการประสาย en_US
dc.description.abstract The research on playing Trua of Mahoree- Puenban in Southern Isan: a case study of “Isan-Panpee band” in Buriram province aimed to 1) study about the elements of Mahoree-Puenbann in Southern Isan “Isan-Panpee band” 2) to study about the techniques of playing Trua of Mahoree -Puenban in Southern Isan “Isan-Panpee band” in Buriram province. The population consisted of knowledgeable people, player group, and general people. The tools used to collect data were interview form, and observation form. The data were collected through documents and field study and data were analyzed and presented by descriptive analysis. The results of research revealed that 1) as for the elements of Mahoree-Puenbann in SouthernIsan “Isan-Panpee band, Buriram Province, it was established in 1993 and Chanthee Khaleram was a header. In present, Mahoree Isaan Panpee band has ten members and the most musicians got general job. The musical instruments for Mahoree- Puenbann “Isaan Panpee band” were Pee, Saw or Trua, Saw Lek, Saw Ou, Tone, Rammana, Ching, Chab. The most musical instruments were made by themselves. Sound system of Trua or Saw Kantrum were set into four pairs, Saw Lek and Saw Ou set into five pairs by using Pee (pipe) to compare tuning. The songs were played for ten songs. All of songs were played without singing and used in auspicious ceremony only. Before every performing, they will have “Wai-Kru” ceremony to pay respect to teacher and the first song which was to be always played was Pleang Kru (To). The social role of the band was used for other ceremony such as Songkran festival, house-warming ceremony, ordination ceremony, wedding reception and many activities as entertainment and creating harmony in the faculty. 2) As for the techniques of playing Trua of Mahoree-Puenbann in Southern Isan “Isan- Panpee band”, Buriram province, techniques which used to play Trua for mahoree Isan-Panpee band have four techniques: string vibrato, sound embellishing, string springing, and string touching. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ : กรณีศึกษา คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบรรเลงตรัวในวงมโหรีพื้นบ้านอีสานใต้ : กรณีศึกษา คณะอิสาณพันปี จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Trua Performance of Mahoree-Puenban Band in Southern Isan: A Case Study of Isan- Panpee Band, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics