ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

วัฒนธรรมการนุ่งซิ่นตีนจกแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ : สถานภาพในการดำรงอยู่

Show simple item record

dc.contributor.author ก้องเกียรติ, มหาอินทร์
dc.date.accessioned 2019-08-09T07:59:47Z
dc.date.available 2019-08-09T07:59:47Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 13, ฉบับที่ 3 (ก.ย. - ธ.ค. 2558) : หน้า 35 -47 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5362
dc.description.abstract วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการดำรงอยู่ของผ้าซิ่นตีนจก แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นวัฒนธรรมการนุ่งซิ่นตีนจกแม่แจ่ม เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีทางวัฒนธรรม ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม และทฤษฎีโลกาภิวัตน์มาวิเคราะห์ พื้นที่วิจัยคือ ตำบลช่างเคิ่ง และ ตำบลท่าผา มีกลุ่มช่างทอผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม กลุ่มผู้ใช้ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม และกลุ่ม นักวิชาการท้องถิ่น เป็นกลุ่มประชากรในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการ ศึกษาเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก การสังเกตเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบกับทฤษฎีและแนวคิด เพื่อ เสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการนุ่งผ้าซิ่น ตีนจกแม่แจ่มได้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการ ดำรงอยู่ จากอดีตการนุ่งผ้าซิ่นตีนจกของผู้หญิงชาวแม่แจ่มจะนุ่งเฉพาะในวันพระที่ สำคัญ นุ่งเมื่อตัวตายพร้อมเผาไปกับร่าง ลูกหลานทำทานผ้าซิ่นตีนจกที่วัดเพื่ออุทิศ ไปหาผู้ตาย และเป็นผ้าซิ่นสำหรับไหว้แม่สามีในวันแต่งงานเท่านั้น ผ้าซิ่นตีนจก แม่แจ่มไม่ใช่ผ้าซิ่นที่นุ่งในชีวิตประจำวัน ในวันปกติผู้หญิงแม่แจ่มจะนุ่งผ้าซิ่นของ ชนเผ่าปกาเกอะญอ ชนเผ่าลั๊วะ และซิ่นลายก่าน อีกทั้งผู้หญิงแม่แจ่มไม่ได้ทอและ นุ่งผ้าซิ่นตีนจกทุกคน นอกจากเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายช่างทอมาจากพญาเขื่อนแก้วและ พญาไจยเท่านั้น จนถึงในช่วงเวลาหนึ่งผ้าซิ่นตีนจกเกือบหายไปจากแม่แจ่ม สังคมแม่แจ่มได้มีการปรับตัวให้คนหันมานุ่งผ้าซิ่นตีนจก โดยใช้วิธีการรณรงค์ให้ผู้หญิงแม่แจ่มนุ่งผ้าซิ่นตีนจก ที่สามารถนุ่งได้หลายโอกาส ถึงแม้ว่าการนุ่งผ้าซิ่น ตีนจกจะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เดิมก็ตาม และใน ขณะเดียวกันความเชื่อในการนุ่งผ้าซิ่นตีนจกเดิม ก็ ยังคงอยู่กับสังคมแม่แจ่มอย่างแนบแน่น en_US
dc.description.abstract This research aimed to study the existence of Culture of wearing Sin Tin Jok Mae Chaem, Chiang Mai. The data was analyzed by cultural theory, theory of socio-cultural change and globalization in changkhoeng and Thapha, Mae Chaem, Chiang Mai. The sample was Sin Tin Jok Mae Chaem weaver, users and local scholars. The data was collected from documents, field trips, questionnaires, and analyzed by descriptive analysis. The results revealed that Culture of wearing Sin Tin Jok Mae Chaem, Chiang Mai had adapted to socio - cultural change to be existence. The former Mea Chaem women wore Sin Tin Jok especially on the Buddhist Subbath, funeral day and as a gift for mother - in – law on wedding day. They didn’t wear Sin Tin Jok in daily life. They wore Sin (sarong) of Karen and Lua tribal and Sin Lai Khan. Only descended from Phraya Kueakaew and Pharaya Chai weavers wore Sin Tin Jok. To encourage and sustain the important of culture that ancestors passed on, there were campaigns for Mea Chaem women to wear Sin Tin Jok on many occasions. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject วัฒนธรรมการนุ่งซิ่นตีนจกแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ : สถานภาพในการดำรงอยู่ en_US
dc.title วัฒนธรรมการนุ่งซิ่นตีนจกแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ : สถานภาพในการดำรงอยู่ en_US
dc.title.alternative Sin Tin Jok Mae Chaem Chiang Mai Culture of Wearing : The Status of Existence. en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics