ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท กรณีศึกษาจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา

Show simple item record

dc.contributor.author Sopheak, Pen
dc.date.accessioned 2019-08-09T07:49:59Z
dc.date.available 2019-08-09T07:49:59Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5359
dc.description.abstract การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจากข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT 8 ระบบ OLI กรณีศึกษา จังหวัด บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ด้วยวิธีการจำแนกแบบควบคุม (Supervised classification) แบบความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Classification) โดยใช้ข้อมูลจากภาคสนามจำนวน 500 จุด แบ่งเป็นข้อมูลทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ มันสำปะหลัง พืชไร่ ป่าไม้ แหล่งนํ้า ไม้ยืนต้น/ไม้ผล ข้าว และเมือง มาสร้างเป็นพื้นที่ตัวอย่าง (Training Area) สำหรับ การจำแนก ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง มีพื้นที่ประมาณ 838.98 ตารางกิโลเมตร หรือ 83,898.27 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 13.54 โดยพื้นที่ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น/ไม้ผล และพืชไร่ มี พื้นที่ประมาณ 250,986.16 117,502.41 และ 65,527.44 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 40.49 18.96 และ 10.57 ตามลำดับ เมื่อจำแนกเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังรายอำเภอ พบว่า อำเภอที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุด คือ อำเภออูร์ชเรา อำเภอธมโปก และอำเภอมาลัย มีพื้นที่ประมาณ 24,965.99 23,780.28 และ 11,876.64 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 29.76 28.34 และ 14.16 ตามลำดับ ซึ่งอำเภอดังกล่าว มีชายแดนติดต่อกับจังหวัดสระแก้วของประเทศไทย ผลจากการตรวจสอบ ความถูกต้องโดยรวมของการจำแนก (Overall Accuracy Assessment) พบว่าความถูกต้องโดยรวมของการจำแนกมีค่า ความถูกต้อง 81.48 % และเมื่อประเมินในแง่ของความถูกต้องของผู้ผลิต (Producer’s Accuracy: PA) พบว่าพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังมีค่าความถูกต้อง 73.68 % และการประเมินในแง่ความถูกต้องของผู้ใช้งาน (User’s Accuracy: CA) พบว่า พื้นที่เพาะปลูกมันสEปะหลังจากการจำแนก โอกาสที่ผู้ใช้งานจะพบว่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจริงมีค่าความถูก ต้องเท่ากับ 80 % en_US
dc.description.abstract Classification of cassava planted area using LANDSAT 8 satellite data: a case study Banteay Meanchey, Cambodia by Maximum likelihood technics of supervised classification. The field data total 500 points was created as training area and then were classified into 7 land use pattern included cassava, Filed crop, forest, water body, Perennial Trees/Fruit Trees, rice and urban. The result of study found cassava area were 838.98 Sq.km. or 83,898.27 hectare, accounted for 13.54 % in addition, Rice, Perennial Trees/Fruit Trees and Filed crop were 250,986.16 117,502.41 and 65,527.44 hectare, accounted for 40.49 %, 18.96 % and 10.57 % respectively. When classification of cassava planted in districts found Ou Chrov, Thma Puok, and Malaii districts were 24,965.99 23,780.28 and 11,876.64 hectare, accounted for 29.76 %, 28.34 % and 14.16 % respectively. It was found that the overall accuracy was 81.48 %. While Producer’s Accuracy assessment and User’s Accuracy assessment of cassava were 73.68% and 80% respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท กรณีศึกษาจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา en_US
dc.title การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท กรณีศึกษาจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา en_US
dc.title.alternative Classification of Cassava Planted Area Using LANDSAT Satellite Data: A Case Study of Banteay Meanchey Province, Cambodia en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics