ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาแนวคิดของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวรรณกรรมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา

Show simple item record

dc.contributor.author บุษกร, โกมลตรี
dc.date.accessioned 2019-08-09T07:00:55Z
dc.date.available 2019-08-09T07:00:55Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย.2560): หน้า 93-106 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5323
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวรรณกรรมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา โดยเก็บข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดและพำนักในพื้นที่รอบลุ่ม ทะเลสาบสงขลา พิจารณาจากการได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคมให้เป็น “ครูภูมิปัญญา หรือ “ผู้ทรงภูมิปัญญา”ที่เกี่ยวข้อง กับวรรณกรรมในฐานะผู้เรียนรู้ ผู้สร้างงาน และผู้ถ่ายทอดสืบไป และวิเคราะห์ผลงานด้านวรรณกรรมของครูภูมิปัญญา แต่ละท่านเพื่อใช้ประกอบข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า แนวคิดของครูภูมิปัญญาไทยด้านวรรณกรรม มีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาไทยกล่าวคือ แนวคิดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ได้แก่ธรรมชาติมีอิทธิพล ต่อวิถีชีวิตมนุษย์ และการเห็นคุณค่าของธรรมชาติ แนวคิดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความเชื่อ ความศรัทธาเรื่องเทพเจ้าและฤๅษี ความเชื่อความศรัทธาเรื่องพระพุทธเจ้าในฐานะเทพเจ้า และความเชื่อความศรัทธาครู หมอทวด หรือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ และ แนวคิดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมได้แก่ ความกตัญญูกตเวทีต่อ ครอบครัว เครือญาติ ครูบาอาจารย์และผู้มีพระคุณ การทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วและการไม่หลงลืมรากเหง้าของตน แนวคิดครู ภูมิปัญญาทั้งสามด้านไม่ได้จำแนกออกจากกันเด็ดขาด หากแต่มีความเชื่อมโยงถึงกัน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต ชุมชน และความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ en_US
dc.description.abstract This research aimed to study the concepts of the local wisdom teachers in literature, living around the Songkhla Lagoon’s areas. For the data collection, the key informants who were born and had lived in the areas were profoundly interviewed and their literary works were studied. These informants had been praised as being “local wisdom teachers” or “local scholars” in literature and also regarded as literary learners, creators and transmitters. The research findings revealed that there were three major concepts of the local wisdom teachers which related to common Thai wisdoms embedded in their literary works. The first concept showed the relationship between human beings and nature. It focused on the influence of nature on human’s way of life and realized the value of nature. The second concept was the relationship between humans and the supernatural beings. It reflected the beliefs and faith in God and hermit, Buddha, and ancestral spirits. The last concept was the relationship between human beings and their society. It depicted gratitude to the families, relatives, teachers and obligating people, humans’ reaping what they sow, and the recognition of their roots. These three major concepts were inseparable but closely related to one another and relevant to the communities’ way of life and the local uniqueness of the South. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาแนวคิดของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวรรณกรรมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา en_US
dc.title การศึกษาแนวคิดของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวรรณกรรมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา en_US
dc.title.alternative A Study of Literature Folk Wisdom Teachers Living Around the Songkhla Lagoon Basin Concepts en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics