ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ธนิก, ไม้น้อย
dc.date.accessioned 2019-08-09T06:57:47Z
dc.date.available 2019-08-09T06:57:47Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 14, ฉบับที่ 3 (ก.ย.- ธ.ค. 2559) : หน้า 209 - 220 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5319
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่อนุรักษ์การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และเสนอแนะให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรดินและที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchical Process, AHP) จากการศึกษาพบว่า จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 2,726,875 ไร่ มีกลุ่มชุดดินที่เหมาะสม แก่การเพาะปลูก 1,540,978 ไร่ มีความรุนแรงการชะล้างพังทลายของดินมากกว่า 20 ตัน/ไร่/ปี มีพื้นที่ 2,225,991 ไร่ คิด เป็นร้อยละ 81.63 มีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน 287,120 ไร่ มีพื้นที่ที่ห่างจากแหล่งน้าไม่เกิน 200 เมตร 1,193,582 ไร่ จาก ํ การวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) พบว่า ค่า Eigenvector มีค่าเท่ากับ 0.05 ซึ่งน้อยกว่า 0.1 แสดงว่า ค่าปัจจัยมีความสอดคล้อง กัน สามารถนำ Eigenvector ไปใช้เป็นค่าน้าหนักได้ โดยปัจจัยกลุ่มชุดดินมีค่า 0.5128 ซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุด และพื้นที่เส้น ํ ทางน้ามีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด คือ 0.3333 จากการวิเคราะห์ลำดับชั้นพบว่า พื้นที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์มากที่สุดมีพื้นที่ 698,751 ไร่ พื้นที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์มากมีพื้นที่ 947,017 ไร่ พื้นที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์ปานกลางมีพื้นที่ 339,679 ไร่ พื้นที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์น้อย 136,647 ไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์มีพื้นที่ 2,141 ไร่ และพื้นที่นอกภาคการ เพาะปลูกมีพื้นที่ 602,640 ไร่ พื้นที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกข้าวมากที่สุดอยู่ในอำเภอพนัสนิคม คิดเป็นร้อยละ 38.40 พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดอยู่ในอำเภอหนองใหญ่คิดเป็นร้อยละ 20.43 พื้นที่ ที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกปาล์มน้ามันมากที่สุดอยู่ในอำเภอหนองใหญ่คิดเป็นร้อยละ 21.84 พื้นที่ที่เหมาะสม แก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกยางพารามากที่สุดมีพื้นที่อยู่ในพื้นที่อำเภอหนองใหญ่คิดเป็นร้อยละ 20.43 ของพื้นที่อำ เภอ และ พื้นที่อำ เภอเกาะจันทร์มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 15.40 ของพื้นที่อำเภอ พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกอ้อยมาก ที่สุดอยู่ในอำเภอหนองใหญ่คิดเป็นร้อยละ 20.46 พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์การเพาะปลูกสับปะรดมากที่สุดอยู่ในอำเภอ หนองใหญ่คิดเป็นร้อยละ 20.46 ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวควรกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น และควรเพิ่มประสิทธิภาพ ให้มีผลผลิตที่สูงขึ้น โดยการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพของดิน หรือกลุ่มชุดดินในพื้นที่ รวมถึงการอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนพื้นที่ที่มีเกษตรกรรมโดดเด่น หรือการเพาะปลูกโดดเด่น เช่น พื้นที่อำเภอพนัสนิคมและ อำเภอพานทอง เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงในการเพาะปลูกข้าว อำเภอศรีราชา มีพื้นที่เพาะปลูกสับปะรด ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ควรมีการ ควบคุมดูแลให้พื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจโดดเด่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อกลุ่มชุดดินหรือที่ดินที่เหมาะสมแก่ การอนุรักษ์ไปใช้นอกภาคการเพาะปลูก โดยมิให้มีการเปลี่ยนเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อดิน และกลุ่มชุดดินให้มีการเสื่อมสภาพและเปลี่ยนแปลงไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดชลบุรี en_US
dc.title การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดชลบุรี en_US
dc.title.alternative Application of GIS to preserve Cultivated Area in Chon Buri Province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics