ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การใช้คำบุรุษสรรพนามของชาวไทยพวนภาคอีสาน

Show simple item record

dc.contributor.author กัญณฐา, พงศ์พิริยะวนิช
dc.date.accessioned 2019-08-09T06:51:42Z
dc.date.available 2019-08-09T06:51:42Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) : หน้า 107-113 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5315
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ภาคอีสาน เพื่อศึกษาการใช้คำบุรุษสรรพนาม ของชาวไทยพวน 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 15-25 ปี ช่วงอายุ 35-45 ปี และ ช่วงอายุ 55-65 ปี พื้นที่ วิจัย คือ 1) หมู่บ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) หมู่บ้านถ่อน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และ 3) หมู่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ซึ่งรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการบันทึกเทป ผลการวิจัย พบว่าชาวไทยพวนมีการใช้คำบุรุษสรรพนาม ทั้งหมด 193 คำ โดยแยกประเภทของคำบุรุษสรรพนาม ได้แก่ 1) คำบุรุษสรรพนามที่ 1 จำนวน 42 คำ 2) คำบุรุษสรรพนามที่ 2 จำนวน 95 คำ และ 3) คำบุรุษสรรพนามที่ 3 จำนวน 56 คำ ทั้งนี้ยังพบว่าชาวไทยพวนภาคอีสานได้ใช้คำบุรุษสรรพนามตามบริบททางสังคม ได้แก่ กาลเทศะ เพศ อายุ ความเป็น เครือญาติ ความสนิทสนม ความสุภาพ และการแสดงอารมณ์ โดยคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ตามกาลเทศะ จัดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพศ คือแบ่งตามสภาพเพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง อายุ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ 1) ช่วงอายุ 15-25 ปี 2) ช่วงอายุ 35-45 ปี และ 3) ช่วงอายุ 55-65 ปี ความเป็นเครือญาติ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ความเป็นเครือญาติกันและไม่เป็นเครือญาติกัน ความสนิทสนม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ สนิทสนมกันและไม่สนิทสนมกัน ความสุภาพ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ แสดงความสุภาพและไม่แสดงความสุภาพ การแสดงอารมณ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ แสดงอารมณ์พอใจและแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ผลการศึกษายังพบว่า ชาวไทยพวนทั้ง 3 ช่วง ยังคงมีการรักษาและมีการใช้คำบุรุษสรรพนามภาษาไทยพวนภาคอีสาน ได้แก่ คำบุรุษสรรพนามที่ 1 คำบุรุษสรรพนามที่ 2 และคำบุรุษสรรพนามที่ 3 นอกจากนี้ยังพบว่าชาวไทยพวนภาคอีสานมีการนำคำบุรุษสรรพนามภาษาไทยถิ่นเลย ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยกลางมาใช้ร่วมด้วย en_US
dc.description.abstract The research aimed to study the usage of personal pronouns in Thai-Phuan Ethnic group. The study investigates the usage of personal pronouns in three Thai Phuan Ethnic groups dividing by age ranges which are 15-25 years old, 35-45 years old, and 55-65 years old. The research area of this study was at Buhom Village of Chiang Khan District in Loei Province, Thon Village of Ban Phue Disdrict in Udon Thani Province, and Pho Tak Village of Pho Tak District in Nong Kai Province. The data was collected by questionnaires, informant interview, and video recording. The results showed that Thai Phuan people totally used 193 personal pronouns which can be classified into four categories as follows: 1) There were 42 first person pronouns; 2) There were 95 second person pronouns; and 3) There were 56 third person pronouns. Moreover, the data indicated that Isan Thai-Phuan employed person pronouns according to cultural contents such as occasion, gender, age, relatives, familiarity, politeness, and feeling expressions. These points can be explained as follows: According to the usage in occasions, it consisted of two types which were formality and informality. Genders involved males and females. Ages can be divided as periods of 15-25 years old, 35-45 years old, and 55-65 years old. For relatives, there were close relatives and unrelated relatives. Familiarity included familiarity and unfamiliarity. Politeness were showing politeness and not showing politeness. Feeling expressions consisted of satisfaction and dissatisfaction. In addition, the results illustrated that Isan Thai-Phuan whose age ranges were 15-25 years old, 35-45 years old, and 55-65 years old remained the usage of Isan Thai-Phuan personal pronouns. Those were first person pronouns, second person pronouns, and third person pronouns. Besides, Isan Thai-Phuan ethnic group also applied the usage of Loei personal pronouns, Thai-Isaan dialect, and Central-Thai dialect altogether. en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การใช้คำบุรุษสรรพนามของชาวไทยพวนภาคอีสาน en_US
dc.title การใช้คำบุรุษสรรพนามของชาวไทยพวนภาคอีสาน en_US
dc.title.alternative The Usage of Personal Pronouns in Isan Thai-Phuan Ethnic Group en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics