ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน เจรียงเบริน

Show simple item record

dc.contributor.author สายใจ, คุณมาศ
dc.date.accessioned 2019-08-09T06:47:23Z
dc.date.available 2019-08-09T06:47:23Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) : หน้า 115-124 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5310
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของเพลงพื้นบ้านเจรียงเบริน 2) ศึกษาลักษณะการคงอยู่และปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านเจรียงเบริน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป นำเสนอผลวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของเจรียงเบรินเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยเขมรในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ วิวัฒนาการมาจากบทร้องกันตร็อบไกของกัมพูชา องค์ประกอบมีนักร้องชาย-หญิงและหมอ แคนอย่างละ 1 คน ใช้วิธีด้นกลอนสดเป็นภาษาเขมรร้องโต้ตอบกันประกอบเสียงแคน เนื้อหาและบทร้องเกี่ยวข้องกับทางโลกและทางธรรม ขั้นตอนการเล่นมีการบูชาครู ขึ้นเวทีแสดง แนะนำตัวกับผู้ชม กล่าวถึงความสำคัญของงาน ร้องถามตอบร้องอวยพรและอำลา ท่ารำตามจังหวะเสียงแคน การแต่งกายแบบพื้นเมืองไทยเขมรสุรินทร์ เจรียงเบรินเล่นได้ทั้งงานมงคลและอวมงคล ลักษณะการคงอยู่ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดง จากเดิมนิยมร้องแบบเบ็ดเตล็ด ปัจจุบันร้องเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สอดแทรกคติสอนใจ เจรียงเบรินมีโอกาสถ่ายทอดผ่านงานต่างๆ ทั้งงานส่วนบุคคลและส่วนรวม รวมทั้งเจรียงเบรินผ่านสื่อทางสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์และการบันทึกลงแถบบันทึกเสียง ปัจจัยการคงอยู่ ได้แก่ การตั้งคณะเจรียงและการตั้งชมรมเจรียงเบริน ทำให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือกันในกลุ่ม การปรับรูปแบบการแสดง และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับลักษณะของงาน รวมทั้งมีการถ่ายทอดเจรียงเบรินสู่บุตรหลานและเยาวชนรุ่นหลัง จึงทำให้เจรียงเบรินสามารถดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน en_US
dc.description.abstract The objectives of this qualitative research were (1) to study h istorical background and components of the traditional folk song – Chariang Broen; and 2) to study existing characteristics and factors affecting the existence of Chariang Broen. Data were collected through an in-depth interview and a participatory observation. The participants of this study consisted of specialists, practitioners, and general people. The Study findings were presented descriptively. The result showed that ChariangBroen is the folk song of Thai-Khmer people in Surin, Burirum, and Sisaket province. The song has been developed from the former Khmer lyric known as Kan-trop-kai. Chariang Broen consists of 1 male performer, 1 female performer, and 1 Khaen player. The performers improvise in Khmer language while they are performing. Contents and lyrics of the song are usually connected with the world or religious beliefs. The show of Chariang Broen starts from paying homage and respect to teachers, teacher heralding, self-introducing, telling the importance of a ceremony, asking and answering questions, blessing, and saying goodbye. The dance patterns depend on Khaen’s rhythm. Performers usually wear the traditional Thai-Khmer dresses. The performing of Chariang Broen could be found in both of auspicious and inauspicious ceremonies. The existent characteristic of Chariang Broen is the change of performing pattern from singing a miscellaneous song to sing a religious song with a moral depicting. Further, Chariang Broen could be performed in public or private in several occasions. In addition, Chariang Broen has also been presented through a radio station, a television broadcasting, or making a record. Factors affecting the existence of Chariang Broen consist of an establishment of new Chariang Broean performing group and the club of Chariang Broen which creates a unity among Chariang Broen performers, an adjustment of performing pattern and story to meet the audiences and hosts’ needs, and training and educating of Chariang Broen to people of the new generation. Those mentioned factors make Chariang Broen to be existed until present. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน เจรียงเบริน en_US
dc.title การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน เจรียงเบริน en_US
dc.title.alternative Existence of “Chariang Broen” – A Folk Song en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics