ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์สังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา

Show simple item record

dc.contributor.author สิ้นศึก, มุงคุณ
dc.date.accessioned 2019-08-09T04:12:53Z
dc.date.available 2019-08-09T04:12:53Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (พ.ค. - ส.ค. 2559) : หน้า 67- 77 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5268
dc.description.abstract การวิเคราะห์สังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมาความ สำคัญและวิเคราะห์หน่วยวัดมาตรฐานสากลกับสังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา โดยใช้หน่วยวัดมาตรฐานสากล และหน่วยสังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา ได้แก่ สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา จักรวาฬทีปนี และชินกาล มาลีปกรณ์ ผลการวิจัยพบว่า หน่วยวัดในอดีตใช้ร่างกายเป็นตัวเทียบ เช่น นิ้ว ฝ่ามือ คืบ ศอก และวา เป็นต้น ในปีพุทธศักราช 2503 ได้เกิดหน่วยวัดมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยหน่วยมูลฐาน 7 หน่วย ได้แก่ 1) เมตร 2) กิโลกรัม 3) วินาที 4) แอมแปร์ 5) เคลวิน 6) เคนเดลา และ 7) โมล หน่วยอนุพัทธ์ และหน่วยเสริมสังขยา คือการนับ การคำนวณ ในทาง พระพุทธศาสนา แบ่งประเภทตามสังขยาปกาสกปกรณ์มี 6 ประเภท คือ 1) อัทธาสังขยา (หน่วยวัดระยะทาง) 2) ธัญญสังขยา (หน่วยตวง) 3) ปมาณสังขยา (หน่วยชั่ง) 4) ภัณฑสังขยา (หน่วยนับ) 5) มูลภัณฑสังขยา (หน่วยราคาและการแทนค่า) และ 6) นีลกหาปณสังขยา (หน่วยเงินนีลกหาปณะ) และแบ่งประเภทตามลักษณะบาลีไวยากรณ์ ได้ 2 ประเภท คือ 1) ปกติ สังขยา และ 2) ปูรณสังขยา และแบ่งประเภทตามปทวิจาร มี 5 ประเภท คือ 1) อิสสกสังขยา (วิธีการบวก) 2) คุณิตสังขยา (วิธีการคูณ) 3) สัมพันธ์สังขยา (วิธีการเชื่อมโยงคำสังขยา) 4) สังเกตสังขยา (การกำหนดใช้แทนตัวเลข) และ 5) อเนกสังขยา(การกำหนดใช้แทนค่าที่นับไม่ได้) สังขยาในจักรวาลทีปนีเป็นหน่วยวัดเกี่ยวกับระยะทางพื้นที่และองค์ประกอบของจักรวาล ส่วนสังขยาในชินกาลมาลีปกรณ์เป็นหน่วยวัดเกี่ยวกับเวลา ความแตกต่างระหว่างสังขยากับหน่วยวัดมาตรฐานสากล คือ หน่วยวัด เครื่องมือ และคำจำกัดความสังขยาในทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นมิติทางนามธรรมซึ่งเป็นการวัดภายใน ส่วน หน่วยวัดมาตรฐานสากลในฐานะวิทยาศาสตร์ เน้นมิติทางรูปธรรมคือการวัดจากภายนอก ซึ่งมีอิทธิพลต่อพระพุทธศาสนา เพราะถูกใช้ยืนยันความจริงตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สังขยามีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ สังคม และวรรณกรรม พระพุทธศาสนา ในฐานะหลักฐาน จำนวนนับ การแลกเปลี่ยน การวัด การซื้อขาย และเครื่องมือสำหรับทำความเข้าใจ หลักธรรมของพระพุทธเจ้า en_US
dc.description.abstract The objectives of research were; to study history, background, and analysis of importance of International System of Unit and Saǹkhayã in Lanna’s Buddhist literature. A researcher applied the documentary method, focusing on International System of Unit: SI or Metrology and Lanna’s Buddhist literatures; Saǹkhayãpakãsakapakarana (Text of Measurement), Saǹkhayãpakãsakaṭĩkã (Definitions of Measurement), Cakkavãladĩpanĩ (Buddhist Cosmology), and Jinakãlmalĩpakarana (History of Buddhism).The findings were that in early time, the body unit was used for measurement such as digit, palm, span, cubit, and stature etc. In 1960, SI was established; 7 base units (Meter: m, Kilogram: kg, Second: s, Ampere: A, Kelvin: K, Mole: mol, and Candela: cd), derived unit, and supplementary unit. Saǹkhayã, the act or process of measuring in Buddhism, there are 6 types in Saǹkhayãpakãsakapakarana; 1) distance measurement, 2) agricultural produce measurement, 3) balancing, 4) system of number 5) cost and currency, and 6) monetary money. Other Saǹkhayã is classified into 2 types in Pali grammar; cardinal number and ordinal number, 5 types of Padavicãna; 1) adding, 2) multiplication, 3) wordings, 4) symbols, and 5) multifarious. Saǹkhayã found in Cakkavãladĩpanĩ included measuring of distance and space between components of universe and other. Saǹkhayã found in Jinakãlmalĩpakarana included measuring of time. There are many differences of Saǹkhayã and SI concepts such as units of measurement, instruments and definitions. Saǹkhayã in Buddhism focuses on abstract dimension, internal measurement (mind). SI focuses on tangible dimension, external measurement. SI has influenced Buddhism to confirm that the truth of Dhamma is a science by objective being, and Saǹkhayã is found to have historical value, social value, and Buddhist literature value as evidences, number, currency, measuring, trading, and instruments for understanding Buddha’s Dhamma. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์สังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา en_US
dc.title การวิเคราะห์สังขยาในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา en_US
dc.title.alternative An Analysis of Saǹkhayã in the Lanna’s Buddhist Literature en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics