ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประยุกต์ภูมิสารสนเทศในการศึกษาลักษณะสัณฐาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภูมิประเทศแบดแลนด์ บริเวณลุ่มนํ้าห้วยยางตอนบน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐพร, ยวงเงิน
dc.date.accessioned 2019-08-09T04:06:48Z
dc.date.available 2019-08-09T04:06:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 13, ฉบับที่ 2 (พ.ค. - ส.ค. 2558) : หน้า 43 - 57 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5262
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอนุสัณฐานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การเกิดภูมิประเทศแบดแลนด์ บริเวณลุ่มนํ้าห้วยยางตอนบน อำเภอตาพระยา จังหวัด สระแก้ว โดยศึกษาจากแผนที่ ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50,000 แผนที่ธรณีวิทยา รูป ถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียมLandsat ภาพจากยานไร้คนขับ (UAV) ผลการ วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี และจากการศึกษาในภาคสนาม ผลจากการศึกษา พบว่า อนุสัณฐานภูมิประเทศแบดแลนด์ประกอบด้วยหลุมยุบ หน้าผา กำแพงดิน เสาดินและตอดิน สัณฐานของแต่ละ อนุสัณฐานจะมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะ รูป ร่าง ขนาดและกระบวนการเกิด แต่จะมีลำดับขั้นการเกิดต่อเนื่องกัน โดยหลุมยุบจะ เป็นอนุสัณฐานที่เริ่มต้นการเกิดก่อน แล้วพัฒนาเป็นหน้าผาดิน กำแพงดิน เสาดิน และ ตอดิน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภูมิประเทศแบดแลนด์บริเวณลุ่มน้าห้วยยางตอน บนประกอบด้วย ธรณีวิทยาโครงสร้าง ธรณีวิทยาลาดับชั้นหิน ลักษณะภูมิประเทศ โครงสร้างตะกอน ลักษณะดิน ลักษณะภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดิน ธรณีวิทยาโครงสร้างเกิดจากกระบวนการแปรสัณฐานทำให้เปลือกโลกเกิดรอย เลื่อน รอยแตก รอยแยก และทรุดตัวแบบกึ่งกราเบน ส่งผลให้ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบระหว่างภูเขาแคบๆ และมีอัตราการไหล ของน้าเร็วขึ้น ลาดับชั้นหิน ประกอบด้วยหมวดหิน พระวิหารรองรับด้วยหมวดหิน ภูกระดึง ซึ่งเป็น ตัวกำหนดลักษณะตะกอนและดิน โครงสร้างของ ตะกอนและดินเป็นสีเหลือง แดง และสีน้าตาล โดย มีเนื้อตะกอนส่วนใหญ่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียดถึง ตะกอนเนื้อร่วน เนื้อดินส่วนใหญ่มีเนื้อดินร่วนปน ทรายและดินเหนียว ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการกร่อน ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นแถบ มรสุม (Tropical Savanna : Aw) ลักษณะภูมิอากาศ ประกอบไปด้วยอุณหภูมิและน้าฝน โดยอุณหภูมิจะ ส่งผลต่อการผุพังอยู่กับที่ทั้งทางกายภาพและทาง เคมี ส่วนน้าฝนจะส่งผลต่ออัตราการกร่อนทั้งใน แนวราบและแนวดิ่ง การเปลี่ยนแปลงใช้ประโยชน์ ที่ดิน เป็นปัจจัยเร่งอัตราการกร่อน พบว่า ในช่วง ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนเป็น พื้นที่เกษตรกรรมและอื่นๆ โดยเนื้อที่ป่าไม้ลดลงจาก ร้อยละ 72.42 ส่วนเนื้อที่ที่มีการกร่อนสูงได้เพิ่มจาก ร้อยละ 1.14 เป็นร้อยละ 5.63 en_US
dc.description.abstract This research aimed to study sub landforms and influencing factors in forming Badlands morphology at the upper Huai Yang basin area, Ta Praya District, Sakaeo Province. The data were collected by various types of research tools such as topographic maps with scale of 1 : 50,000, Geological maps, Arial Photography, photography from Land sat Satellite, photography from Unmanned Aerials Vehicles (UAV), lab reports, data from Department of Mineral Resources, Meteorological Department and field study. The results showed that Badlands morphology comprised of sinkholes, soil cliffs, soil wall, soil column and soil stubble. Each of sub landforms had different appearances in form, size and forming process. Appearance of sub landform were under the control of time; the sinkholes were created first and then turned to be cliffs, soil wall, soil column and soil stubble respectively. The factors influencing badland formation in the upper Huai Yang basin consisted of the geological structure, stratigraphy, topology, sedimentary structure, soil properties, climate, and land use change. As for the geological structure, the techtonic process brought about faults, joints, fissures, half-graben, intermountain plateaus and fast running water passages. Regarding stratigraphy, the badlands in this area comprised of Phra Wihan formation and Phu Kradueng formation, which influenced the sediment and soil. Concerning the sediment and soil structure, soil and sediment in the badlands were yellow, red, and brown and the texture was fine and very fine. Moreover, the badlands had sandy loam, sandy loams, and clay, which affected the erosion rate. In terms of climate, the badlands featured tropical savanna (Aw). Consequently, the badlands were affected by temperature and rainfall. In particular, the temperature caused physical and chemical erosion, whereas, the rainfall affected the horizontal and vertical erosion rates. As for the land use change, the erosion rate of the badlands was hastened by the land use change. Over the past sixty years, the forest area had been converted into the area for agricultural purposes and non-forest uses. The forest area had been reduced from 98.73 percent to 72.42 percent. Meanwhile, the area of the badlands had been increased from 1.14 percent to 5.63 percent. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การประยุกต์ภูมิสารสนเทศในการศึกษาลักษณะสัณฐาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภูมิประเทศแบดแลนด์ บริเวณลุ่มนํ้าห้วยยางตอนบน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว en_US
dc.title การประยุกต์ภูมิสารสนเทศในการศึกษาลักษณะสัณฐาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภูมิประเทศแบดแลนด์ บริเวณลุ่มนํ้าห้วยยางตอนบน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว en_US
dc.title.alternative The application of geo-informatics for studying landform and influencing factors in forming badland morphology At the upper Huai Yang basin area, Ta Praya district, Sa-Kaeo province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics