ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาเนื้อดิน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาแบบใบมีด

Show simple item record

dc.contributor.author ปราโมทย์, ปิ่นสกุล
dc.date.accessioned 2019-08-09T04:00:07Z
dc.date.available 2019-08-09T04:00:07Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559) : หน้า 147-153 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5254
dc.description.abstract โครงการวิจัย “การพัฒนาเนื้อดินอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา แบบใบมีด (Jiggering)” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พ.ศ. 2552 จากการศึกษาทดลองการนำดินพื้นบ้านจากอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาแบบใบมีด (Jiggering) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนผสมของเนื้อดิน โดยใช้ทฤษฎีเชิงเส้น (Line Blend) มีวัตถุดิบ 2 ชนิด ได้แก่ ดินจากอำเภอบ้านกรวด และดินดำทั้งหมด 10 สูตร นำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,230 องศา เซลเซียส ทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินหลังการเผา และเพื่อนำเนื้อดินที่มีอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมสำหรับ การขึ้นรูปแบบใบมีด มาทดแทนการซื้อเนื้อดินสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างสูง และเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ จากการทดลองพบว่าสูตรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมได้แก่สูตรที่ 6 ซึ่งมีอัตราส่วนผสมดังนี้ ดินพื้นบ้าน อ.บ้านกรวด ร้อยละ 50 และดินดำร้อยละ 50 เมื่อทำทดสอบสมบัติทางกายภาพของ เนื้อดินหลังการเผาแกร่งแล้วเนื้อดินมีสีนํ้าตาลอ่อนออกครีม มีค่าการหดตัวของเนื้อดินอยู่ที่ร้อยละ 9.8 มีค่าการดูดซึมนํ้า ร้อยละ 3.70 และมีค่าความแกร่งของเนื้อดิน 461.23 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ของเนื้อดินเซรามิกส์ชนิด สโตนแวร์ คือมีค่าการหดตัวไม่เกินร้อยละ 15 ค่าการดูดซึมนํ้าไม่เกินร้อยละ 5 มีค่าความแกร่งมาก ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของเนื้อดินชนิด สโตนแวร์ เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดังกังวาน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเนื้อดินชนิด สโตนแวร์ เมื่อนำมาทดสอบเพื่อ วิเคราะห์ศักยภาพในการขึ้นรูปแบบใบมีดแล้ว เนื้อดินมีความเหนียว การกดวางใบมีดลง และการรีดเนื้อดินเข้าตามขนาด ความหนาของแบบพิมพ์ได้ดี ระยะเวลาในการหลุดร่อนออกจากแม่พิมพ์อยู่ที่ระหว่างเวลา 20 – 25 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลา ที่เหมาะสมคือไม่มากเกิน และไม่น้อยจนเกินไป และที่สำเนื้อดินสามารถทรงตัวตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้ ไม่แตกร้าว ไม่บิดเบี้ยว ซึ่งสามารถที่จะนำไปพัฒนาใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้ en_US
dc.description.abstract The research project entitled development of clay of Ban Kruat District Buriram Province for Utilizing in jiggering Pottery Product Forming was the experimental study of taking the native soil from Ban Kruat District in Buriram Province for utilizing in jiggering pottery product forming. The purpose of this study was to seek for the clay body ratios by using line blend theory with 2 kinds of raw materials, namely; clay from Ban Kruat District, and black soil in total of 10 formulas. They are burnt with 1,230 Degree Celsius. The researchers made an experiment of the clay body physical qualification after burning and took the appropriated clay body ratios for jiggering product forming to replace the buying readymade clay body with rather high price and it was made the product identity particularly in using local raw materials to be the products. From the experiment, it was found that the appropriated formulas were formula 6 – the ratios were native soil in Ban Kruat District (50%) and black soil (50%). When doing the physical experiment of clay body after doughty burning, the clay body had creaming pale brown with its contraction value at 9.8%, absorption at 3.70%, and strengthening at 461.23 kg per square centimeter. They were all at stoneware ceramic clay body criteria with its contraction value not higher than 15 %, absorption value at 5%, and the strengthening value was high. The metallic sound will be heard, when they were knocked with classify in stoneware ceramic clay body group. When taking to do the experiment for analyzing their potentiality in jiggering forming, the clay body was toughness, blade pressing, and clay body ironing with thickness sizes of forming well. The duration of disintegration from the form was between 20-25 minutes – not too much and too little. More importantly, the clay body can balance with designed model without cracking, and distorting that can be taken to develop in utilizing the industrial products. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาเนื้อดิน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาแบบใบมีด en_US
dc.title การพัฒนาเนื้อดิน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาแบบใบมีด en_US
dc.title.alternative The Development of Clay Body in Ban Kruat District, Buriram Province for Utilizing in jiggering Pottery Product Forming en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics