ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง อารยธรรมขอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ฐิตาภรณ์, เวียงวิเศษ
dc.date.accessioned 2019-08-09T03:57:01Z
dc.date.available 2019-08-09T03:57:01Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (พ.ค. - ส.ค. 2559) : หน้า 101 - 107 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5252
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรทอ้ งถิ่น เรื่อง “อารยธรรมขอม” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การร่างหลักสูตร โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร และครูโรงเรียนพนมรุ้ง เพื่อวิเคราะห์จุด แข็งจุดอ่อนของหลักสูตรสถานศึกษา และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากนั้นได้นำมาจัดทำเป็นเอกสารแล้วจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้ร่วมวิพากษ์ประกอบด้วย คณะผู้วิจัย ครูผู้ชำนาญการด้านการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษา เมื่อได้ร่างหลักสูตรแล้ว คณะผู้วิจัยได้ส่งร่างหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องเกี่ยว กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของ โรงเรียนพนมรุ้งเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การใช้หลักสูตร คณะผู้วิจัยได้ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียน ชั้น มัธยมปีที่ 1 และ 2 3) การประเมินผลหลักสูตรได้ดำเนินการประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามนักเรียน และสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนนักเรียน ผู้บริหาร เพื่อนครู ที่สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอารยธรรมขอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผลการประเมินการใช้หลักสูตร พบว่าหลัง เรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นอารยธรรมขอมหลังเรียน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 และ 3.89 ตามลำดับ โดย นักเรียนมีความภูมิใจในแหล่งอารยธรรมขอมในท้องถิ่นของ ตน นักเรียนมีจิตสำนึกรักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของตนเอง รู้สึกรักประเทศ ชาติ และท้องถิ่นมุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้ สังคมและท้องถิ่นตามลำดับ นักเรียนมีความพึงพอใจในการ ปรับปรุงการเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นมากที่สุดคือด้านการ จัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการวัดผลประเมิน ผล และด้านคุณลักษณะ/บุคลิกภาพนักเรียน ผู้ปกครอง อยากให้เด็กได้เรียนวิชานี้ต่อไป เพราะเป็นเอกลักษณ์ให้ ภูมิใจในท้องถิ่นของตน กิจกรรมที่ผู้ปกครองภูมิใจคือเห็น บุตรได้แสดงละครเกี่ยวกับพนมรุ้ง และส่วนหนึ่งบุตรได้เล่า ความรู้เกี่ยวกับพนมรุ้งให้ผู้ปกครองฟัง และเห็นบุตรวาดรูป และเขียนบรรยายเกี่ยวกับปราสาทพนมรุ้ง ครูผู้สอนกล่าว ว่า วิชานี้เป็นที่สนใจของนักเรียน ชุมชนเสนอแนะว่า ถ้าจะ ให้ต่อเนื่อง ต้องให้หน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามาช่วยสนับสนุน อีกทางหนึ่ง และต้องการให้โรงเรียนออกไปทำกิจกรรมเผย แพร่ความรู้เกี่ยวกับพนมรุ้งให้ชุมชนรับรู้ด้วย en_US
dc.description.abstract The purpose of this study was to develop the local curriculum, “Khmer Civilization”, for lower secondary school students of Phanomrung School, Buriram Province. There were 3 stages of studying: 1) Curriculum Drafting. This step was done through a Focus Group and a workshop. The workshop participants included the school administrators and the teachers of Phanomrung School. The result of this workshop was the draft of local curriculum, and the draft was sent to the curriculum experts to examine the appropriateness and the concordance between objectives and contents, learning activities and assessment. The researcher team not only had organized the workshop but also had surveyed learning resources in the community of Phanomrung School to be information for learning activities setting. 2) Curriculum Implementation. The researchers tried out the draft curriculum with the lower secondary school students, Matthayomsueksa1 and 2. 3) Curriculum Evaluation. The researchers employed the questionnaire to ask the students and did the depth-interview with the students’ representatives, the administrators, teachers, and the school board committee who were people from the community. The result of the study was the local curriculum entitled “Khmer Civilization” for lower secondary school students of Phanomrung School, Buriram Province. The results from the curriculum evaluation revealed that the students had knowledge and understanding the curriculum at the high level. They were proud of the civilized area of their community, realized to conserve their natural resources, arts and cultures, festivals, had the feeling of loving their country and locality, focused on making benefits and decent deeds for society and locality, consecutively. The most satisfaction in learning improvement in this curriculum was learning and teaching area. The parents wished this program available for their children because the curriculum revealed their identity and made them proud of their homeland. The activities that the parents were proud of the children played the Phanomrung Sanctuary Drama, told the story of Phanomrung Castle to their parents. The teachers told that this subject interested the students, and the parents suggested the community officers support this project, and the school should also do activities to give knowledge concerning Phanomrung to the community. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง อารยธรรมขอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง อารยธรรมขอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Local Curriculum Development, “Khmer Civilization”, for Lower Secondary School Students of Phanomrung School, Buriram Province. en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics