ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล ที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับวิธีเรียนปกติ

Show simple item record

dc.contributor.author พรรณี, กลั่นสนิท
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:10:44Z
dc.date.available 2017-09-02T04:10:44Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/523
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล ที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับวิธีเรียนปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 28 คน ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม และกำหนดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 6 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเรียนปกติ จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.470-0.97 ค่าความยากตั้งแต่ 0.37-0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F – test ผลการวิจัยพบว่า 1.แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 95.50/86.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2.นักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับวิธีเรียนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01เมื่อทดสอบเป็น รายคู่ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล ที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับวิธีเรียนปกติ en_US
dc.title.alternative A COMPARISON OF LEARNING ACHIEVEMENT OF MATTHAYOMSUKSA 6 STUDENTS TAUGHT STAD COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE AND CONVENTIONAL INSTRUCTION WITH THE TOPIC "MEASURES OF RELATIVE STANDING" en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics