ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์และแบบผสมผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน

Show simple item record

dc.contributor.author เกษกนก, สีระสูงเนิน
dc.date.accessioned 2019-08-09T03:07:18Z
dc.date.available 2019-08-09T03:07:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558) : หน้า 187-203 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5214
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้ง และการคิดวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ วิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และรูปแบบ การเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน โดยแบ่ง นักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน เรียนโดยใช้การเรียนแบบผสม ผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มที่ 2 จำนวน 30 คน เรียนโดยใช้การเรียน แบบผสมผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ 3 เรื่อง คือพืชดัดแปลงพันธุกรรมการคัดลอกพันธุกรรมและการเผาตอซังข้าว 2) แบบทดสอบความสามารถการโต้แย้ง 3) แบบทดสอบการวัดการคิดวิพากษ์วิจารณ์ การทดสอบสมมติฐานใช้ Paired t-test และ F-test (Two-way MANCOVA และ ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียน แบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการเรียนแบบผสมผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นมีการพัฒนาความสามารถในการ โต้แย้งเพิ่มขึ้นจากการสอบครั้งที่ 1-4 และมีการคิด วิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน (p<.0001)นักเรียนที่มีแรง จูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีความสามารถในการโต้แย้งและ การคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและรายด้านมากกว่า นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตํ่า (p<.0001) ส่วน นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานตามวิธี การทางวิทยาศาสตร์และนักเรียนที่เรียนแบบผสม ผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความสามารถ ในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและ เป็นรายด้านทั้ง 5 ด้านไม่แตกต่างกัน (p = .079) นอกจากนี้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับรูปแบบการเรียนต่อความสามารถในการคิด วิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและรายด้านเฉพาะด้านการ อนุมานและการตีความ (p< .0001) en_US
dc.description.abstract This research aimed to study and compare argumentation and critical thinking abilities of the students after learning socioscientific issues as a whole and as classified according to achievement motives and learning methods. The sample was 60 grade 6 students of who were divided into 2 groups : the first group of 30 students who learned by the mixed methods based on the scientific method and the second group of 30students who learned by the mixed methods based on 7-E learning cycle approach. Instruments for the research included : 1) lesson plans on 3socio-scientific issues : Genetically Modified Plants, Cloning and Burning Rice Stubble, 2) Argumentation tests and 3) Critical thinking test. The hypotheses were tested by dependent t-test and the F-test (Two-way MANCOVA and ANCOVA).The research findings revealed that the students as a whole and as classified according to achievement motives, who learned the socio-scientific issues by the mixed methods based on the scientific method and the 7-E Learning Cycle, showed more developments of argumentation abilities from the 1st test to the 4th test, and showed more critical thinking abilities in general and in each of 5 subscales after learning than before learning (p<.001).The students with high achievement motive evidenced more argumentation and critical thinking in general and in each of 5 subscales than the counterpart students (p < .001). Whereas two groups of the students did not show difference in terms of argumentation abilities in general and in each of 5 subscales (p = .079). In addition, there were statistical interactions of achievement motive with learning method on critical thinking abilities only as a whole and in the subscale of deduction and interpretation (p < .001). en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์และแบบผสมผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน en_US
dc.title การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์และแบบผสมผสานตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน en_US
dc.title.alternative Comparison of Effects of Learning Socio-scientific Issues using the Mix Methods Based on the Scientific Method and the 7-E Learning Cycle Approach on Argumentation and Critical Thinking of Grade 6 Students with Different Achievement Motivations en_US
dc.title.alternative Comparison of Effects of Learning Socio-scientific Issues using the Mix Methods Based on the Scientific Method and the 7-E Learning Cycle Approach on Argumentation and Critical Thinking of Grade 6 Students with Different Achievement Motivations en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics