ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author สายทอง, ศรีนาค
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:08:34Z
dc.date.available 2017-09-02T04:08:34Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/519
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยจำแนกตามสภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารจำนวน 159 คนและครูจำนวน 335 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางขงเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.การเปรียบเทียบเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3.การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารงารวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนควรมีการจัดอบรมให้ความรู้กับครู ในเรื่องหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และนำผลที่ได้จากการวิจัยมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของตน ครูควรจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โรงเรียนควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลให้กับครูและส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือและระเบียบการวัดผลประเมินผล และแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนมีมากแต่ถูกมองข้ามคุณค่าความสำคัญโรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งการเรียนภายในชุมชนจัดการเรียนการสอน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. en_US
dc.title สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative STATES OF ACADEMIC ADMINISTRATION OF SCHOOL UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics